การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
32 กระบวนการก่อนคำพิพากษา เช่น กรมราชทัณฑ์ ทำหน้าที่ควบคุมผู้ต้องหาระหว่างสอบสวน และ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนทำหน้าที่ควบคุมและสืบเสาะพินิจเด็ก หรือเยาวชนที่เป็น ผู้ต้องหาประกอบ สำนวนการสอบสวน เป็นต้น 2.2.3.2 ระบบสอบสวนคดีอาญาของประเทศไทย 1) โครงสร้างอำนาจสอบสวนคดีอาญาของไทย ระบบสอบสวนคดีอาญาไทยมีโครงสร้างอำนาจตามแนวคิดหลักแยกอำนาจ สอบสวนออกจาก อำนาจฟ้องร้อง กล่าวคือ เมื่อมีความผิดอาญาเกิดขึ้นตำรวจมีอำนาจหน้าที่รับคำ ร้องทุกข์เริ่มต้นคดี สอบสวน รวบรวมพยานหลักฐาน ตรวจค้น จับกุม แจ้งข้อหาควบคุมและขอให้ ศาลสั่งขังผู้ต้องหาไว้ ระหว่างการสอบสวน สำหรับคดีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษอย่างสูงจำคุกไม่ เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ได้ไม่เกิน 30 วัน คดีความผิดอาญาที่มีอัตรา โทษจำคุกเกินสามปี แต่ไม่เกินสิบปีหรือปรับเกินหกหมื่นบาทขึ้นไปหรือทั้งจำทั้งปรับ ได้ไม่เกิน 48 วัน คดีความผิดอาญาที่มี อัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่สิบปีขึ้นไปจะมีโทษปรับด้วย หรือไม่ก็ตาม ได้ไม่ เกิน 84 วัน แล้วแต่กรณี สรุปสำนวนและทำความเห็นทางคดีจนแล้วเสร็จ จึงส่งสำนวนสอบสวนนั้น ไปให้พนักงานอัยการพิจารณาสำหรับพนักงานอัยการไทย แม้พระราชบัญญัติองค์กรอัยการและ พนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 14(2) บัญญัติให้พนักงานอัยการมีอำนาจหน้าที่ในคดีอาญาแต่ เป็นเพียงการบัญญัติ รับรองอำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดไว้ และมาตรา 16 มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันบัญญัติให้พนักงานอัยการมอำนาจหน้าที่ สอบสวนเช่นเดียวกับ พนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาก็ตาม แต่ พนักงานอัยการจะมีบทบาท อำนาจหน้าที่เป็นพนักงานสอบสวนเฉกเช่นตำรวจต่อเมื่อมีกฎหมาย กำหนดให้พนักงานอัยการมอำนาจ สอบสวนและเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเป็นการเฉพาะ เรื่อง เช่น การกำหนดให้อัยการสูงสุด เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในคดีความผิดนอก ราชอาณาจักรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญามาตรา 20 เป็นต้น ( สันติ ผิวทองคำ , 2564) กล่าวได้ว่าพนักงานอัยการไทยไม่มีอำนาจรับคำร้องทุกข์ สอบสวน คดีอาญาทั่วไป และไม่มีอำนาจ บังคับบัญชาตำรวจและพนักงานสอบสวนในการรวบรวมพยานหลักฐาน เฉกเช่นพนักงานอัยการใน ระบบโครงสร้างอำนาจตามแนวคิดอำนาจสอบสวนฟ้องร้องเป็นกระบวนการเดียวกัน ด้วยเหตุนี้การ ดำเนินคดีอาญาของไทยจึงถูกแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือขั้นตอนการดำเนินคดี ชั้นตำรวจ ขั้นตอนการ ดำเนินคดีชั้นอัยการและขั้นตอนการดำเนินคดีชั้นศาล 2) กระบวนการสอบสวนและทำสำนวนคดีอาญาในระบบสอบสวนคดีอาญา ไทย 1.ขั้นตอนเริ่มต้นคดี เมื่อมีความผิดอาญาเกิดขึ้นและผู้เสียหายเข้าร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงาน สอบสวน (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 127 และมาตรา 128)หรือเมื่อตำรวจ จับกุมผู้กระทำผิดซึ่งหน้านำตัวไปมอบให้พนักงานสอบสวนพร้อมกับร้องทุกข์หรือกล่าวโทษให้ทำการ สอบสวนดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด พนักงานสอบสวนจะสอบปากคำ ผู้เสียหาย หรือผู้กล่าวโทษไว้ใน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3