การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
34 6.ขั้นตอนการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานและทำความเห็นทางคดี หลังจากพนักงานสอบสวนรวบรวมพยานบุคคล พยานเอกสาร และพยานวัตถุ ครบถ้วน แล้ว พนักงานสอบสวนจะสรุปข้อเท็จจริงและทำความเห็นทางคดีจากพยานหลักฐานที่ ปรากฏจากการรวบรวมมีพนักงานสอบสวนมีความเห็นควรสั่งฟ้องหรือเห็นควรสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาใน รูปแบบ“รายงานการสอบสวน”แล้วนำไปรวมเข้ากับสรรพเอกสารหลักฐานอื่นที่รวบรวมเป็นสำนวน คดีเสนอผู้บังคับบัญชาพิจารณาทำความเห็นทางคดีในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนอีกครั้ง ความเห็นของ ผู้บังคับบัญชาซึ่งถือเป็นความเห็นของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ เมื่อผู้บังคับบัญชา ทำความเห็น ทางคดีแล้วถือว่าการสอบสวนในชั้นตำรวจเป็นอันเสร็จสิ้น 7.ขั้นตอนการพิจารณารับสำนวนของพนักงานอัยการ หลังจากผู้บังคับบัญชาของพนักงานสอบสวนทำความเห็นทางคดีแล้ว พนักงาน สอบสวน จะนำสำนวนสอบสวนพร้อมความเห็นของผู้บังคับบัญชาไปส่งและเสนอต่อพนักงานอัยการ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 140)พนักงาน อัยการจะพิจารณาเบื้องต้นตาม หลักเกณฑ์ที่ (ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีอาญา ของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2563)กำหนดว่าจะรับสำนวนสอบสวนไว้พิจารณาออกคำสั่งหรือไม่ หากพนักงานอัยการเห็นว่ า สำนวนสอบสวนไม่ถูกต้องครบถ้วนตามระเบียบดังกล่าวก็จะปฏิเสธไม่รับสำนวนสอบสวนไว้พิจารณา หากเห็นว่าสำนวนสอบสวนถูกต้องครบถ้วนตามระเบียบจึงจะรับสำนวน สอบสวนไว้พิจารณาเพื่อ ออกคำสั่งทางคดีต่อไป 8.ขั้นตอนการออกคำสั่งของพนักงานอัยการ กรณีที่พนักงานอัยการรับสำนวนสอบสวนไว้พิจารณาพนักงานอัยการจะออก คำสั่ง ทางคดีว่าสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา โดยก่อนออกคำสั่งดังกล่าว พนักงานอัยการอาจจะสั่ง ให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนพยานบุคคลหรือรวบรวมพยานหลักฐานใดเพิ่มเติมให้สิ้นกระแส ความเสียก่อนก็ได้ 9.กรณีพนักงานอัยการออกคำสั่งฟ้องผู้ต้องหา กรณีพนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้อง พนักงานอัยการจะฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล เมื่อ ผู้ต้องหา ถูกฟ้องต่อศาลจะมีสถานะเป็นจำเลย และคดีจะเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาชั้นศาล พนักงาน สอบสวน มีหน้าที่ไปเบิกความต่อศาลในฐานะพยานโจทก์ และมีหน้าที่ติดตามผู้เสียหาย ผู้กล่าวหา ผู้ ร้องทุกข์ และพยานบุคคลที่พนักงานอัยการอ้างอิงจากสำนวนการสอบสวนต่อศาลไปเบิกความในชั้น พิจารณา ของศาลด้วย (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 55/1) 10.กรณีพนักงานอัยการออกคำสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา กรณีมีคำสั่งไม่ฟ้อง สำนวนคดีจะถูกเสนอไปให้ผู้บังคับบัญชาพนักงานสอบสวน พิจารณาทบทวนคำสั่งของพนักงานอัยการหากผู้บังคับบัญชาพนักงานสอบสวนเห็นชอบด้วยกับคำสั่ง ไม่ฟ้อง ของพนักงานอัยการมีผลทางกฎหมาย คือ คำสั่งของพนักงานอัยการเป็นคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง ผู้ต้องหาผลของคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องผู้ต้องหาห้ามมิให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนเกี่ยวกับ ผู้ต้องหาหรือบุคคลนั้นในเรื่องเดียวกันซ้ำอีก เว้นแต่จะได้พยานหลักฐานใหม่อันสำคัญแก่คดีซึ่งน่าจะ ทำให้ศาล ลงโทษผู้ต้องหานั้นได้แต่หากผู้บังคับบัญชาพนักงานสอบสวนเห็นแย้งกับคำสั่งพนักงาน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3