การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
35 อัยการสำนวนจะถูกเสนอไปยังอัยการสูงสุดชี้ขาด คำสั่งอัยการสูงสุดไม่ว่าจะสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องมี ผลทาง กฎหมายให้ถือเป็นคำสั่งเด็ดขาดของคดี 2.3 ผู้สูงอายุกับการดำเนินคดีอาญา ผู้สูงอายุที่ต้องเข้ามาสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญาในชั้นจับกุม หรือชั้นสอบสวนในฐานะ ผู้ต้องหานั้นอาจเกิดจากเหตุปัจจัยที่แตกต่างกัน และเมื่อเข้ามาสู่การดำเนินคดีทางอาญาแล้ว ผู้สูงอายุอาจมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ ทางสมอง และสังคมที่แตกต่างจากวัยอื่น ๆ จึงอาจ เกิดปัญหาตามมาได้จึงควรศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับการกระทำความผิดของผู้สูงอายุและปัญหาการ เปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุกับการบังคับใช้กฎหมาย ดังต่อไปนี้ 2.3.1 ทฤษฎีเกี่ยวกับการกระทำความผิดของผู้สูงอายุ ในกรณีที่ผู้สูงอายุได้มีการกระทำความผิดนั้นซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุประกอบกัน เช่น ผู้สูงอายุที่ลักขโมยเพราะเกิดจากความยากจน และเกิดอาการหิวโหยไม่มีอาหาร การทำร้ายร่างกาย อันเกิดจากการทะเลาะเบาะแว้งที่ไม่รุนแรงหรือสุขภาพจิตสภาวะทางสมอง ผู้สูงอายุบางคนอาจจะไม่ สามารถควบคุมอารมณ์ของตนได้ และนำไปสู่การทำร้ายร่างกายสมาชิกในครอบครัวผู้ดูแล บุตร หลานหรือเพื่อนของตนเพราะด้วยสภาวะทางสมองที่มีความเสื่อมถอยลดลงไปทุกวันตามกาลเวลา และในบางกรณีการที่สังคมเปลี่ยนไป หรือบรรทัดฐานของสังคมเปลี่ยนไปทำให้มีกฎหมายบางอย่าง หรือกฎระเบียบบางอย่างเพิ่มเติมขึ้นมา ในขณะที่ผู้สูงอายุอาจจะไม่ทราบว่ากฎหมายมีการ เปลี่ยนแปลง และอาจเป็นเหตุให้กระทำการที่เป็นการละเมิดกฎหมายได้ในกรณีที่โลกกำลังเข้าสู่ยุค แห่งดิจิทัลพร้อมกับประเทศไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุ อีกทั้งจากการสำรวจพบว่าผู้สูงอายุมีจำนวนที่ใช้ โซเชียลเป็นจำนวนไม่น้อย ดังนั้นนอกจากที่จะต้องคำนึงถึงการที่ผู้สูงอายุจะไปก่ออาชญากรรมใน ความผิดอาญาทั่วไปตามประมวลกฎหมายอาญาแล้วนั้นก็อาจจะต้องคำนึงถึงความผิดอาชญากรรม ทางเทคโนโลยีด้วยเพราะเป็นสิ่งที่อาจจะกระตุ้นหรือเพราะด้วยความชราของผู้สูงอายุอาจจะกระทำ การละเมิดต่อกฎหมายได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ผู้สูงอายุบางคนอาจกระทำความผิดซ้ำเพียงเพื่อตนจะได้ กลับไปอยู่ในเรือนจำ ซึ่งเป็นที่ที่ตนเองรู้สึกปลอดภัย มีอาหารให้รับประทาน และมีเพื่อนร่วมเรือนจำ โดยประเภทของการกระทำความผิดของผู้สูงอายุมีได้หลากหลาย เช่น เมา ลักขโมย ยักยอก การพนัน ก่อความไม่สงบ การล่วงละเมิดทางเพศ (Peter C. Kratcoski, 2018) ซึ่งมีทฤษฎี ดังต่อไปนี้ 2.3.1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม มนุษย์สามารถเรียนรู้ได้โดยผ่านการสังเกตพฤติกรรมอาชญากรรมในรูปแบบของ หนังก็คือพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ของบุคคลในการใช้หรือปฏิบัติอยู่ในชีวิตจริงพฤติกรรมของ มนุษย์เกิดจากการเรียนรู้การได้เรียนรู้แนวความคิดจากการคบหาสมาคมกับบุคคลอื่น และ แนวความคิดนี้เองก็ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมของบุคคลนั้น“ซัทเธอร์ แลนู้ด” (Sutherland) เป็นผู้ที่ เสนอแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของอาชญากรรม กล่าวคือ พฤติกรรมอาชญากรรม เกิดจากกระบวนการเรียนรู้พฤติกรรมอาชญากรรมจากบุคคลใกล้ชิด โดยการติดต่อพูดคุยกันไม่ว่าจะ เป็นทางวาจาหรือลักษณะภาษากายแต่ลำพังเฉพาะการเรียนรู้พฤติกรรมอาชญากรรมไม่เพียงพอที่จะ ทำให้บุคคลไปก่ออาชญากรรมได้ บุคคลดังกล่าวจะต้องผ่านกระบวนการคิดตัดสินใจที่เห็นชอบด้วย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3