การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
36 กับการกระทำที่ละเมิดกฎหมายมากกว่าความเห็นด้วยกับการกระทำที่ถูกกฎหมายอันเกิดจาก วัฒนธรรมและค่านิยมที่มากับกระบวนการในการเรียนรู้พฤติกรรมผิดกฎหมาย ทฤษฎีของ “ซัทเธอร์ แลนู้ด” มีองค์ประกอบสำคัญ 2 ประการคือ องค์ประกอบ ประการที่หนึ่งเป็นองค์ประกอบด้านเนื้อหาหรือสาระสำคัญของสิ่งที่ถูกเรียนรู้ซึ่งหมายรวมถึงเทคนิค พิเศษในการประกอบอาชญากรรม แรงดลใจที่เหมาะสม แรงกระตุ้น การอธิบายด้วยหลักเหตุผล ทัศนคติ และการทำบุคคลคล้อยตามหรือเห็นด้วยกับการฝ่าฝืนกฎหมาย ส่วนองค์ประกอบประการที่ สองของการเรียนรู้ คือ กระบวนการที่การเรียนรู้ได้เกิดขึ้นโดยการเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากการคบหา สมาคมกับกลุ่มบุคคลที่ใกล้ชิดซึ่งอาจจะไม่ใช้แค่การเรียนรู้ที่เกิดจากความใกล้ชิดเท่านั้นบุคคลอาจเข้า สู่หรือผ่านกระบวนการเรียนรู้ได้หากได้มีโอกาสคบหาสมาคมกับต้นกำเนิดของพฤติกรรมอาชญากรรม ต่อมาเอเคอร์ (Akers) ได้พัฒนาทฤษฎีการเรียนรู้จากหลักการสำคัญในทฤษฎี การคบหาสมาคมที่แตกต่างของ “ซัทเธอร์ แลนู้ด” โดยมีหลักการสำคัญ คือ “พฤติกรรมเบี่ยงเบน เป็นผลมาจากกระบวนการเรียนรู้โดยผ่านทางความใกล้ชิดหรือทางการเลียนแบบพฤติกรรมของ บุคคล” โดยทฤษฎีการเรียนรู้นั้น พฤติกรรมอาชญากรรมแรกเริ่มเกิดจากการเลียนแบบไม่ว่าโดย ทางตรงหรือทางอ้อม หลังจากนั้นบุคคลจะประกอบอาชญากรรมต่อไปหรือไม่ขึ้นอยู่กับการสนับสนุน ที่แตกต่างกันกล่าวคือการได้รับรางวัลหรือการลงโทษ โดยการสนับสนุนอาจกระทำโดยตรงหรือผ่ าน บุคคลอื่นก็ได้ การที่บุคคลสังเกตผลของพฤติกรรมอาชญากรรมของ บุคคลอื่น ก็ถือเป็นการส่งเสริม สนับสนุนพฤติกรรมอาชญากรรมของผู้สังเกตเองด้วย ดังนั้น การจะเข้าใจสาเหตุของพฤติกรรม อาชญากรรมต้องมองว่า พฤติกรรมเกิดจากการที่สภาพแวดล้อมนั้นส่งเสริมสนับสนุน หรือลงโทษ บุคคลที่แสดงออกซึ่งพฤติกรรมนั้น หรือไม่อย่างไร (พรชัย ขันตี และคณะ, 2543) 2.3.1.2 ทฤษฎีสภาพไร้บรรทัดฐาน อีไมล์ เดอร์ไคม์ (Emile Durkheim) เป็นผู้ที่เสนอทฤษฎีสภาพไร้บรรทัดฐาน โดยเสนอว่าการมีส่วนร่วมทางสังคมและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อพฤติกรรม ที่เบี่ยงเบน สภาพไร้บรรทัดฐานคือสภาวะของการไร้ระเบียบกฎเกณฑ์โดยสังคมล้มเหลวในการใช้ กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ (Michelle Inderbitzin,2016) โดยที่ปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลง ของสังคมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็นเพียงชั่วระยะหนึ่ง หลังจากนั้น เมื่อเหตุการณ์ต่าง ๆในสังคม เข้าสู่สภาวะปกติ สภาวะไร้กฎเกณฑ์ก็จะหมดไป (สุดสงวน สุธีสร, 2558) อีไมล์ เดอร์ไคม์ มองว่าอาชญากรรมจะเกิดในช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็ว เช่น ในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำมีผลทำให้การตอบสนองต่อความต้องการในเรื่องทรัพย์สินของ บุคคลลดลงไปด้วยแต่ถ้าหากความต้องการของบุคคลไม่ได้ลดลงไปด้วย ย่อมก่อให้เกิดภาวะที่ไม่สมดุล ระหว่างความต้องการกับการตอบสนองความต้องการและทำให้เกิดปรากฏการณ์ “anomie” เมื่อใด ที่บรรทัดฐานของสังคมไม่สามารถควบคุมการกระทำของคนในสังคมได้หรือไม่ตอบสนองต่อความ ต้องการของสังคม ย่อมเป็นเหตุให้บุคคลฝ่าฝืนบรรทัดฐานของสังคม และนำไปสู่การกระทำความผิด (อัจฉรียา ชูตินันทน์, 2561) รอสโซ (Rosow) ใช้ทฤษฎีความกดดัน (strain theory) เป็นพื้นฐานในการ จำแนกมิติของผู้สูงอายุจำนวนมากที่นำมาสู่สภาวะไร้บรรทัดฐาน (anomic state) ในมิติแรกผู้สูงอายุ ที่เกษียณอายุ ขาดคู่สมรส สุขภาพไม่ดี หรือรายได้ลดลง สิ่งเหล่านี้ล้ว นเป็นปัจจัยที่นำมาสู่
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3