การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

37 ความเครียดที่ผู้สูงอายุจะต้องเผชิญ มิติที่สองคือการขาดการเตรียมการกระบวนการทางสังคมให้กับ ผู้สูงอายุในบทบาทใหม่ที่ผู้สูงอายุจะต้องอยู่ในชุมชน เมื่อบทบาทการเป็นผู้สูงอายุไม่ได้นำมาใช้ใน สถานการณ์ของชีวิตผู้สูงอายุเหล่านั้น มิติที่สามคือความรู้สึกทางด้านจิตใจในการที่มีพลังลดน้อยลง ความรู้สึกว่าไม่มีคุณค่าในสังคมที่เป็นอยู่ และคิดว่าจะถูกกำจัดออกจากสังคมในท้ายที่สุด (Peter C. Kratcoski, 2018) 2.3.1.3 ทฤษฎีความสะดวกและโอกาส ทฤษฎีโอกาสเสนอว่า ผู้กระทำความผิดจะเลือกเหยื่อบนพื้นฐานที่ว่า เหยื่อไม่ สามารถต่อสู้ขัดขืนได้ รวมทั้งคาดการณ์ว่าไม่มีความเสี่ยงสูงที่จะถูกจับและได้รับโทษ 60 นั่นคือ ทฤษฎีนี้เห็นว่าผู้กระทำความผิดจะเลือกเหยื่อบนพื้นฐานของการที่ไม่ต้องใช้ความพยายามแต่มีความ น่าจะเป็นที่จะได้รับสิ่งตอบแทนที่สูงกว่า รวมทั้งมีความเสี่ยงน้อยที่จะถูกจับกุม ความสะดวกเป็นแนวคิดที่สัมพันธ์กับประสิทธิภาพของการประหยัดเวลา หรือ กล่าวได้ว่า ความสะดวกสัมพันธ์กับความเร็ว ความง่ายและความปลอดภัย รวมทั้งเป็นสิ่งที่น่าสนใจ และเข้าถึงได้ ความสะดวกเป็นสิ่งที่กระตุ้นทางเลือกของการกระทำองค์ประกอบที่สำคัญของความ สะดวก คือ การประหยัดเวลา ส่วนองค์ประกอบอื่น ๆ คือ การหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่เป็นปัญหา ความเครียด ความท้าท้าย โดยความสะดวกสามารถเป็นได้ทั้งองค์ประกอบสมบูรณ์ และองค์ประกอบ สัมพัทธ์กล่าวคือองค์ประกอบสมบูรณ์ คือ ความสนใจที่จะก่ออาชญากรรม ในขณะที่องค์ประกอบ สัมพัทธ์ คือ ความสะดวกในการก่ออาชญากรรมมากกว่าที่จะกระทำทางเลือกอื่นที่จะต้องมีการ แก้ปัญหาหรือมีความเป็นไปได้ที่จะได้รับประโยชน์ (Petter Gottschalk, 2017) การมีระบบการ สื่อสารที่ก้าวหน้า การใช้อินเทอร์เน็ตเป็นการเพิ่มโอกาสในการก่ออาชญากรรมได้ เช่น อาชญากรรม ทางเพศ ฉ้อโกง กรรโชก การรับซื้อของโจร รวมทั้งอาชญากรรมอื่น ๆ ที่ไม่ต้องอาศัยการติดต่อกับ เหยื่อ เป็นต้น 2.3.1.4 ทฤษฎีการถอนตัวออกจากสังคม ทฤษฎีนี้มีแนวคิดว่าผู้สูงอายุและสังคมจะลดบทบาทซึ่งกันและกัน เนื่องจาก ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนมีความสามารถลดลง และมีสุขภาพเสื่อมถอย จึงถอดถอนหรือหลีกเลี่ยงบทบาท และกิจกรรมทางสังคม เพื่อลดความตึงเครียดหรือบีบคั้น ทฤษฎีนี้ถือเป็นทฤษฎีแรกที่มีลักษณะ เป็นสหวิทยาการ การที่สังคมมีการถ่ายโอนอำนาจจากผู้สูงอายุมาสู่คนรุ่นอายุน้อยกว่า ระบบสังคม จึงมีการจัดการกับความสูงวัย ความสูงวัยจึงเป็นปัญหาที่ต้องยับยั้งด้วยกลไกของการแยก หรือถอด ถอนออกจากสังคม ดังนั้น ผู้สูงวัยจึงลดระดับการทำกิจกรรมลง และมองหาบทบาทที่เป็นฝ่ายรับมาก กว่าเดิม ผู้สูงอายุจะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นน้อยลงและจมอยู่กับตัวเอง การถอนตัวออกจากสังคมจึงเป็น พฤติกรรมการปรับตัวที่ผู้สูงอายุจะดำรงไว้ซึ่งคุณค่าของตนเอง ด้วยการถอดถอนตัวเองออกจาก บทบาทต่าง ๆ ที่เคยมี เช่น บทบาททางอาชีพ บทบาทของการเป็นผู้ปกครอง พ่อ-แม่ เป็นต้น (พร ชัย ตระกูลวรานนท์และคณะ, 2554) บุคคลที่มีทักษะในการก่ออาชญากรรมตั้งแต่วัยกลางคนก็อาจจะยังมีแรงจูงใจใน การก่ออาชญากรรมขึ้นได้อีก เมื่อมีโอกาสที่เหมาะสม และมีความสามารถในการกระทำสิ่งที่ตน ต้องการนอกจากนี้ทฤษฎีการถอนตัวออกจากอาชีพ ความสัมพันธ์ทางสังคมและการมีส่วนร่วมใ น ชุมชนอาจจะทำให้ผู้สูงอายุเองเกิดความรู้สึกขัดแย้ง เกิดความเครียดและต้องเผชิญปัญหาทาง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3