การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
38 เศรษฐกิจ สิ่งเหล่านี้อาจเป็นเหตุให้ผู้สูงอายุเกิดแรงจูงใจในกระทำบางอย่างเช่น การเสพยา การดื่ม แอลกอฮอล์หรือพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ เป็นต้น เมื่อกระทำจนกลายเป็นพฤติกรรมและนำมาสู่ การก่ออาชญากรรมในที่สุด นอกจากนี้ ภาวะทางเศรษฐกิจอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุเปิด โอกาสของตนในการก่ออาชญากรรม เช่น อาชญากรรมที่เกี่ยวกับการทุจริต หรือลักขโมย 2.3.1.5 ทฤษฎีจิตผิดปกติ จิตผิดปกติมี 2 รูปแบบ กล่าวคือ (สุดสงวน สุธีสร,2558.น 68) (1) จิตผิดปกติจากสมองผิดปกติ (organic disorder) เป็นเรื่องเกี่ยวกับสรีรวิทยาโดยตรง เช่น สมองผิดปกติจากการได้รับบาดเจ็บ ที่ศีรษะทำให้สมองไม่รับรู้ สมองเสื่อมจากวัยชรา โรคพาร์กินสัน เป็นต้น ดังนั้นเป็นจิตผิดปกติที่ เกี่ยวข้องกับโรคทางสมองเท่านั้น (2) จิตผิดปกติจากระบบการทำงานของสมองผิดปกติ ( functional disorder) จิตผิดปกติจากระบบการทำงานของสมองผิดปกติ หมายถึง ระบบประสาทการ รับรู้ การเข้าใจ และความจำไม่ได้ทำหน้าที่ที่ควรจะเป็น ทำให้เกิดอาการที่แปลกประหลาด เช่น ประสาทหลอน โรคจิตประสาทที่เกิดจากความขัดแย้งทางใจที่แก้ไขไม่ตก มีความวิตกกังวล โดย อาการดังกล่าวไม่ได้ผิดปกติที่สมอง จึงไม่สามารถตรวจสอบได้ ดังนั้น ผู้สูงอายุเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น การทำงานของสมองเสื่อมลง อาจเกิดความผิดปกติ และอาจทำให้เกิดเป็นโรคทางจิตที่ผิดปกติด ตามมาได้ 2.3.2 ปัญหาการเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุกับการบังคับใช้กฎหมาย เมื่อผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ทางจิตวิทยาและสังคม และผู้สูงอายุจะต้อง เข้ามาสู่การดำเนินคดีทางอาญาตั้งแต่ในชั้นจับกุมที่อาจต้องมีการคุมขังชั่วคราวหรือที่เรียกว่าฝากขัง ผู้ต้องหาระหว่างการสอบสวนหรือระหว่างการพิจารณาคดีแล้วแต่กรณีหากไม่ได้รับการปล่อยตัว ชั่วคราวจึงทำให้อาจมีปัญหาตามมาได้ดังรายละเอียดต่อไปนี้ ระบบผิวหนัง ผู้สูงอายุมีระบบผิวหนังที่เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ สูญเสียความยืดหยุ่น ผิวหนังบางลง แห้งและบอบบางมากขึ้น ทำให้ผิวหนังมีโอกาสฉีกขาดได้ง่าย กรณีที่ผู้สูงอายุถูกจับ จึง ต้องระมัดระวังในการใส่กุญแจมือถ้าเป็นไปได้หากต้องมีการใส่กุญแจมือควรใส่อยู่บนเสื้อแขนยาวหรือ ใส่กุญแจมือแบบหลวม ๆ และหากผู้สูงอายุต้องถูกคุมขัง จะต้องมีแผ่นรองเมื่อนั่งหรือนอน นอกจากนี้ การใช้ยาบางตัวของผู้สูงอายุ เช่น ยาละลายลิ่มเลือด ก็อาจเป็นสาเหตุให้มีเลือดออกได้ (David R. Snyder, 2014) ระบบทางเดินหายใจ หากผู้สูงอายุถูกจับกุม จะต้องระมัดระวังในเรื่องของยาที่เกี่ยวกับ ระบบทางเดินหายใจที่ผู้ต้องหาสูงอายุต้องรับประทาน หรือนำมาด้วย หรือผู้ต้องหาสูงอายุบางราย อาจจำเป็นต้องใช้ออกซิเจนนอกจากนี้ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจไม่ควร ขนส่งโดยให้ผู้สูงอายุนอนราบ และไม่ควรใช้สเปรย์พริกไทยกับผู้สูงอายุ รวมทั้งการที่ต้ องอยู่ใน สถานการณ์ที่กดดัน อาจจะมีผลต่อการหายใจของผู้สูงอายุอันจะทำให้ผู้ต้องหาที่สูงอายุได้รับอันตราย ถึงแก่ชีวิตได้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3