การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
40 2.4.1 หลักการว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ หลักการคุ้มครองสิทธิ และเสรีภาพนั้นได้ริเริ่มจากกลุ่มชนชั้นกลางในช่วงสมัยยุคกลางใน ทวีปยุโรปซึ่งเป็นกลุ่มคนชั้นกลางที่เริ่มที่จะเรียกร้องสิทธิ และเสรีให้เหล่าพวกขุนนาง และรวมไปถึง พระมหากษัตริย์ให้ได้มาซึ่งสิทธิ และเสรีภาพบางประการแก่ตนเองโดยการเรียกร้องที่ได้รับการพูดถึง มากที่สุดก็คือ “แม็กนาคาร์ตา” โดยมีใจความสำคัญในมาตรา 39 ว่า “ชาวบ้านประชาชนทั่วไปมิ อาจจะถูกจับกุม ต้องขัง ถูกประหาร หรือขับไล่ หรือถูกกระทำโดยวิธีหนึ่ง เว้นแต่โดยอาศัยพื้นฐานคำ วินิจฉัยตามบทบัญญัติของกฎหมาย” (บรรเจิด สิงคะเนติ,2552 น.34) ในเวลาต่อมาปี ค.ศ.ที่ 1647 จนถึง 1649 ได้มีข้อตกลงซึ่งเสนอต่อ “โอลิเวอร์ ครอมเวลล์” โดยมีสภาที่ปรึกษาแห่งกองทัพคือ “ข้อตกลงของประชาชน” ซึ่งได้แนวความคิดมาจากทฤษฎีสัญญาประชาชน และแนวความคิดแบบ มนุษย์นิยมซึ่งตามข้อตกลงดังกล่าว รัฐจะต้องถูกจำกัดอำนาจในเรื่องเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพแต่ก็ถูก ปฏิเสธไปในท้ายที่สุด ต่อมาในปี ค.ศ.ที่ 1679 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ได้ลงนามใน พระราชบัญญัติ Habeas Corpus ซึ่งมีใจความสำคัญว่า “บุคคลมิอาจถูกจับกุม คุมขัง โดยปราศจากคำสั่งที่เป็นลายลักษณ์ อักษรและผู้ถูกจับกุมนั้นจะต้องนำ ตัวไปยังผู้พิพากษาภายในระยะเวลา 30 วัน” (บรรเจิด สิงคะเน ติ,2552 น.35-36) เห็นได้ว่าได้เริ่มมีการกำหนดวันในอันที่จะถูกควบคุมตัวไว้อันเป็นการละเมิดสิทธิ และเสรีภาพของผู้ต้องหาให้น้อยที่สุด ซึ่งพระราชบัญญัตินี้ยังคงมีผลผูกพันมาจนถึงปัจจุบัน และมีนัก กฎหมายมหาชนชาวเยอรมนีชื่อ “จอร์จ เจลลิเน็ก” ได้แบ่งสิทธิ และเสรีภาพออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ (บรรเจิด สิงคะเนติ,2552 น.52-53) 1. สิทธิเสรีภาพเชิงลบเป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพของปัจเจกบุคคลนั้น รัฐไม่สามารถเข้า มามีบทบาทหรือแทรกแซงได้ และหากถูกรัฐเข้ามาแทรกแซงก็สามารถเรียกร้องให้เยียวยาได้ด้วย 2. สิทธิเสรีภาพเชิงบวกเป็นสิทธิและเสรีภาพของปัจเจกบุคคลที่สามารถเรียกร้อง เพื่อให้ ได้รับความคุ้มครองจากรัฐ 3. สิทธิเสรีภาพที่มีสถานะกำลังใช้งานอยู่เป็นสิทธิและเสรีภาพของปัจเจกบุคคลที่จะใช้ สิทธิเข้าไปมีส่วนร่วมในการสร้างเจตจำนงทางการเมือง โดยสิทธิและเสรีภาพทั้ง 3 ประเภทนี้ประชาชนทุกคนพึงจะต้องมี และได้รับความ คุ้มครองอย่างเท่าเทียม และการกระทำของรัฐนั้นต้องคำนึงถึงหลักความเสมอภาค (บรรเจิด สิงคะเน ติ,2552 น.57) กล่าวคือ จะต้องถูกปฏิบัติอย่างเท่าทียมกันสำหรับสิ่งที่เหมือนกัน และปฏิบัติให้ แตกต่างกันสำหรับสิ่งที่มีความแตกต่างกันในสาระสำคัญ ซึ่งการจำกัดสิทธิและเสรีภาพโดยรัฐนั้น ได้มี ทฤษฎีอยู่ 2 ทฤษฎีได้กล่าวเอาไว้ คือ (บรรเจิด สิงคะเนติ,2552 น.261-264) 1. ทฤษฎีคุ้มครองสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพอย่างสมบูรณ์การแทรกแซงในชีวิต ร่างกายอันเป็นสิทธิพื้นฐานที่บัญญัติไว้ในมาตรา 2 วรรคสองของรัฐธรรมนูญ นั้นไม่ว่ากรณีใด ๆ จะ ล่วงละเมิดไม่ได้ เป็นการกระทบกระเทือนต่อสาระสำคัญแห่งสิทธิดังกล่าว 2. ทฤษฎีคุ้มครองสาระสำคัญสิทธิและเสรีภาพอย่างสัมพัทธ์ไม่ควรมีสิ่งใดได้รับความ คุ้มครองอย่างสมบูรณ์ ต้องไตร่ตรองชั่งน้ำหนักประโยชน์ได้เสียที่รัฐจะต้องให้ความคุ้มครอง โดย รัฐธรรมนูญมาตรา 29 วรรคหนึ่ง ได้เปิดให้ฝ่ายนิติบัญญัติสามารถตรากฎหมายเพื่อจำกัดสิทธิและ เสรีภาพของประชาชนได้แต่มิให้ตรากฎหมายเพื่อจำกัดสิทธิและเสรีภาพกระทบกระเทือนต่อ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3