การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
42 จำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนด้วย นอกจากนี้ในกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาญี่ปุ่น ค.ศ. 1948 ยังได้ขยายขอบเขตในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานรวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์การ คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของผู้ต้องหาหรือจำเลยไว้ดังนี้ (วรินทร์ วิรุฬห์จรรยา, 2556) 1. บุคคลใดจะถูกลิดรอนในชีวิตและเสรีภาพ หรือจะได้รับการลงโทษทางอาญาได้นั้น จะต้องถูกดำเนินการตามขั้นตอนหรือกระบวนการซึ่งได้บัญญัติไว้ในกฎหมายเสียก่อน 2. บุคคลใดจะถูกจับกุมได้ก็ต่อเมื่อมีหมายจากศาล โดยได้ระบุข้อหาซึ่งบุคคลนั้นถูก กล่าวหาเว้นแต่จะเป็นการกระทำความผิดซึ่งหน้า 3. บุคคลใดจะถูกควบคุมหรือคุมขังได้ก็ต่อเมื่อได้รับแจ้งข้อกล่าวหาก่อน หรือบุคคล จะต้องไม่ถูกคุมขังโดยไม่มีเหตุอันควร และเหตุผลในการคุมขังต้องเสนอต่อศาลในทันทีโดยเปิดเผยต่อ หน้าผู้ถูกคุมขัง และมีสิทธิในการมีทนายเพื่อช่วยเหลือทางคดี 4. บุคคลจะต้องได้รับความคุ้มครองในที่อยู่อาศัย รวมทั้งเอกสารการเข้าไปตรวจค้นและ การยึดไม่สามารถทำได้ เว้นแต่จะมีหมายศาลเสียก่อน 5. ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะต้องได้รับการพิจารณาคดอย่างรวดเร็ว และโดยเปิดเผย 6. บุคคลจะไม่ถูกบีบบังคับในการให้การที่เป็นปฏิปักษ์แก่ตนเอง คำรับสารภาพที่เกิดขึ้น จากการบังคับ การทรมาน หรือการข่มขู่ หรือเกิดขุนภายหลังจากการคุมขังหรือกักกันนี้เป็นระยะ เวลานานไม่สามารถที่จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ และบุคคลจะไม่ถูกพิพากษาในคดีอาญาว่ามี ความผิดหากไม่มีพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดหรือมีเพียงแต่คำรับสารภาพของบุคคลนั้น ก็ไม่สามารถพิพากษาว่ามีความผิดได้ จากหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นเห็นได้ว่าลักษณะที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งในการ ดำเนินคดี อาญาของญี่ปุ่นนั้น คือหลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของผู้ต้องหาหรือจำเลยพร้อม ด้วยกันดำเนิน คดีอาญาด้วยความถูกต้อง รวดเร็วและเป็นธรรม ส่วนประเทศสหรัฐอเมริกา มีกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นหลักคุ้มครองสิทธิผู้ต้องหา โดยเฉพาะบทบัญญัติที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตราที่ 1-10 ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อ “การเรียกเก็บเงินของสิทธิ” (Bill of Rights) ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธรัฐซึ่งมีหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิในกระบวนการ ยุติธรรมในทุก ๆ รัฐทั้งเป็นการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำให้กับเจ้าหน้าที่ในการใช้อำนาจในกระบวนการ ยุติธรรมโดยเฉพาะตำรวจ และพนักงานอัยการ (กิตติพงษ์ กิตยารักษ์, 2541) โดยรัฐธรรมนูญประเทศ อเมริกาฉบับแรกตราขึ้นที่รัฐเพนซิลเวเนีย วันที่ 28 กันยายน ค.ศ.1776 โดยมี Virginia Bill of Rights วันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ.1776 และคำประกาศอิสรภาพชาวเยอรมนีในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 ได้นำแนวความคิดเรื่องสิทธิเสรีภาพมากำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งตามมาด้วย รัฐธรรมนูญของมลรัฐต่าง ๆ จนถึงรัฐธรรมนูญแบบสหพันธรัฐ ตลอดจนการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติม สิทธิขั้นพื้นฐาน 10 รายการซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ.1791 ซึ่งเอกสารเหล่านี้แสดง ให้เห็นถึงความคิดเกี่ยวกับรูปแบบพื้นฐานของรัฐธรรมนูญสมัยใหม่ โดยสังเคราะห์แนวความคิด เกี่ยวกับสิทธิขั้นพื้นฐานกับแนวความคิดเกี่ยวกับรัฐที่ปกครองภายใต้กรอบแห่งรัฐธรรมนูญเข้าด้วยกัน ด้วยเหตุนี้เองประเทศสหรัฐจึงได้ชื่อว่าเป็นแหล่งกำเนิดของแนวความคิดเกี่ยวกับรัฐที่ปกครองภายใต้ กรอบแห่งรัฐธรรมนูญในยุคสมัยใหม่อย่างเต็มภาคภูมิ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3