การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

43 ซึ่งในประวัติศาสตร์มีแนวคิดเกี่ยวกับการใช้อำนาจรัฐและการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ของ ประชาชนค่อนข้างหลากหลาย ภายหลังจากการเกิดการกระทำอันรุนแรงและไม่เป็นธรรมของรัฐ หลายแห่งต่อผู้ที่อยู่ภายใต้การปกครอง จึงเกิดการแทรกแซงขึ้นโดยผู้อยู่ภายใต้การปกครองเพื่อ ยกเว้นเกี่ยวกับหลักอำนาจอธิปไตยของรัฐด้วยเหตุผลด้านมนุษย์ธรรม ทำให้เกิดปฏิญญาสากลว่าด้วย สิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติขึ้น โดยผสมผสานแนวความคิดจากรากฐานทางปรัชญาของกลุ่ม ประเทศต่าง ๆ คือ (ภานุพันธ์ ชัยรัต, 2549) แนวความคิดที่ 1 เป็นแนวความคิดเกี่ยวกับหลักกฎหมายธรรมชาติของกลุ่มประเทศ ตะวัน ตกที่เห็นว่าศักดิ์ศรีอันติดตัวมาของมนุษย์และสิทธิอันเท่าเทียมไม่อาจพรากโอนได้ แนวความคิดที่ 2 เป็นแนวความคิดเกี่ยวกับหลักการรัฐนิยมของกลุ่มประเทศสังคมนิยมที่ เห็นว่า ปัจเจกชนมิได้มีชีวิตอยู่อย่างโดดเดียวแต่ดำรงชีวิตอยู่ในฐานะสมาชิกของสังคมดังนั้นปัจเจก ชนจึงมีหน้าที่ต้องับผิดชอบสังคมด้วย แนวความคิดที่ 3 เป็นแนวความคิดที่เกี่ยวกับหัวการเชิงชาตินิยมของกลุ่มประเทศที่มุ่ง ปกป้องอำนาจอธิปไตยของชาติให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้จึงเป็นผลมาจากการผสมผสานจากแนวความคิดที่มี รากฐานปรัชญาที่แตกต่างกัน โดยหลายประเทศได้นำปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้ไปบัญญัติ ไว้ในรัฐธรรมนูญซึ่งประเทศไทยได้เริ่มนำปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนมาทำการร่างและบัญญัติ ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ดังนั้นจึงสรุปได้ว่ากระบวนการยุติธรรมทางอาญาจำเป็นต้องคำนึงถึงหลักการสิทธิ มนุษยชนขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วยความเสมอความเท่าเทียม ซึ่งหลักการในเรื่องสิทธิมนุษย์ชั้นนั้น ได้ มีพัฒนาการเริ่มต้นส่วนหนึ่งมาจากมูลฐาน ของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและพื้นฐานทาง ความคิดในทางควบคุมไม่ให้อำนาจรัฐใช้ มาตรการหรือกลไกของกระบวนการยุติธรรมทางอาญามา คุกคามหรือกระทำการอันมิชอบต่อประชาชน ในขณะเดียวกันก็อาจกล่าวได้ว่า การปกครองใดก็ ตามที่ไม่เคารพต่อสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญานั้น ย่อมไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตยเพราะเป็นจุดเปราะบางที่อำนาจรัฐจะมีโอกาสกระทบกระเทือนต่อ สิทธิเสรีภาพของประชาชนมากที่สุด ซึ่งความเป็น ประชาธิปไตยทำให้มีความจำเป็นต้องตระหนักถึง เรื่องนี้อย่างยิ่ง (ชาติ ชัยเดชสุริยะ, 2549) โดยเฉพาะเมื่อบุคคลนั้นเป็นบุคคลที่มีสภาวะทางร่างกาย และจิตใจเสื่อมถ่อยลงไปทุกวันก็คือผู้สูงอายุที่มีแต่จะเพิ่มในอนาคต ดังนั้นคิดว่าการดำเนินคดีอาญา ในขั้นตอนก่อนฟ้องคดีอาญากล่าวคือในชั้นการสอบสวนหรือชั้นจับกุมทั้งในความผิดอาญาทั่วไปและ อาชญากรรมออนไลน์ก็ดีซึ่งถือเป็นขั้นตอนสำคัญของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเพราะเป็นต้นน้ำ ของกระบวนการยุติธรรมทั้งหมด ผู้ต้องหาหรือจำเลยจึงต้องได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายให้ สามารถใช้สิทธิในการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเองได้ส่วนการคุ้มครองสิทธิ และเสรีภาพ ของ ประชาชนในประเทศไทยนั้นได้ปรากฎอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญาโดยจะกล่าวในหัวข้อต่อไป 2.4.2 หลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในประเทศไทย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติ กล่าวคือ เป็นกฎหมาย ที่กำหนดถึงกระบวนการดำเนินคดีอาญา ไม่ว่าจะเป็นต่อผู้ต้องหา ตั้งแต่การถูกจับกุม การสอบสวน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3