การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

44 การพิจารณาคดีของศาล และรวมไปถึงการลงโทษในเรือนจำโดยมีลักษณะการบัญญัติไว้เป็นลำดับชั้น ตามขั้นตอนของการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานกำหนดขอบเขตในการใช้อำนาจรัฐไว้อย่างรัดกุม ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้บริสุทธิ์ต้องถูกลงโทษ และให้ความเป็นธรรม กับผู้ที่ถูกกล่าวหา เป็น ผู้ต้องหาหรือเป็นจำเลยให้ได้รับโทษตามความผิดที่ได้กระทำไปตามความเป็นจริง โดยจะต้อง คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ อันจะเห็นได้ว่า กฎหมายวิธี พิจารณาความอาญาที่มีประสิทธิภาพจะต้องรักษาสมดุลระหว่าง อำนาจของรัฐในการนำตัวผู้กระทำ ผิดมาลงโทษ และหลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนแม้จะเป็นผู้กระทำความผิดก็ตาม ซึ่ง หลักการทั้งสองนี้จะต้องไม่เอนเอียงไปทิศทางใดทิศทางหนึ่งต้องมีความเที่ยงตรง (วัชชนา สวัสดิ์, 2553) เพราะกระบวนการสอบสวนคดีเป็นกระบวนการที่กระทบต่อสิทธิ และเสรีภาพของผู้ต้องหาไม่ ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมก็ตาม ตั้งแต่การจับกุมจึงมีความจำเป็นต้องให้ความสำคัญในการ คุ้มครองผู้ต้องหา เพื่อให้เกิดความยุติธรรมในสังคมในบ้านเมือง การดำเนินงานในกระบวนการ ยุติธรรมต้องเป็นไปอย่างรอบคอบ รวดเร็ว และเป็นธรรม จำเป็นที่จะต้องมีหลักประกันการดำเนิน กระบวนการพิจารณาในคดีอาญาให้สำเร็จ และถูกต้องโดยปกติจะคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ กล่าวคือ ในด้านสิทธิเฉพาะตัวที่พึงมีในการปฏิบัติต่อมนุษย์ทุกคน และรักษาไว้ไม่ให้บุคคลอื่นมา ละเมิดได้ ในฐานะที่เป็นมนุษย์ทุกคนควรได้รับคุณค่าโดยไม่ต้องคำนึงถึงเพศ เชื้อชาติ และศาสนา ใด ๆ นอกจากนี้ควรคำนึงถึงสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยตามหลักสากล ได้แก่ 1 .สิทธิที่จะได้รับแจ้ง ข้อกล่าวหา 2. สิทธิที่จะโต้แย้งแสดงพยานหลักฐาน ผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลย มีสิทธิต่อสู้คดีเพื่อพิสูจน์ ความบริสุทธิ์ของตนเอง 3. สิทธิที่จะได้รับการสอบสวนด้วยความรวดเร็ว เป็นธรรม และมีระยะเวลา ที่เพียงพอในการเตรียมสำนวนคดี 4. สิทธิที่จะให้การหรือไม่ให้การ ในชั้นสอบสวน อันเป็นสิทธิที่จะ ไม่ให้การและสิทธิที่จะไม่ถูกบังคับให้พูดในทางที่เป็นผลร้ายแก่ตนเอง 5 . สิทธิที่จะได้รับการ สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ 6. สิทธิที่จะมีทนายความช่วยเหลือทางคดี และ 7.สิทธิที่จะได้รับ การปล่อยตัวชั่วคราว การขอประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย คือ การขออนุญาต ให้ผู้ต้องหาหรือจำเลย พ้นจากการควบคุมของพนักงานหรือศาลตามระยะเวลาที่กำหนด เพื่อไม่ให้ผู้ต้องหา หรือจำเลยถูก ควบคุมหรือขังเป็นเวลานานเกินกว่าความจำเป็นในระหว่างการสอบสวนหรือพิจารณาคดี ซึ่งสิทธิของ ผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ได้กล่าวมาทั้งหมดเป็นหลักสากลที่นานาอารยประเทศกำหนดมาตรการ เพื่อ คุ้มครองผู้ต้องหาหรือจำเลย (วงษ์ กวี, 2553) โดยสามารถสรุปประเด็นสำคัญสิทธิของผู้ถูกจับ หรือ ผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (รัตนาธโรจน์, ส, 2560) ดังนี้ 1.สิทธิในชั้นจับกุม (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83, 84) 1.1 พื้นที่ถูกจับ (1) ผู้จับแจ้งผู้ถูกจับว่า “เขาต้อง ถูกจับ” และ “ถูกนำตัวไปที่ทำการของพนักงาน สอบสวนพร้อมด้วย ผู้จับ”ตามมาตรา 83 วรรคแรก (2) แจ้งข้อกล่าวหา “มีสิทธิที่จะ ไม่ให้การหรือ ให้การก็ได้ และ ถ้อยคำของผู้ถูกจับนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณา คดีได้” และ “ผู้ถูก จับมีสิทธิที่ จะพบและปรึกษาทนายความหรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความตามมาตรา 83 วรรคสอง 1.2 ก่อนส่งตัวให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ (มาตรา 84)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3