การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
45 1. จะต้องเอาตัวผู้ถูกจับไปยังที่ทำการพนักงานสอบสวนโดยทันที 2.ต้องดำเนินการตาม ข้อ 1.1 ข้อ (1) (2) อีกครั้ง (กระทำเป็น ครั้งที่สอง) 3. มอบสำเนาบันทึกการจับกุมให้ ผู้ถูกจับ ตาม มาตรา 84 วรรคหนึ่ง (1) 4.กรณีราษฎรจับพนักงานฝ่าย ปกครองหรือตำรวจผู้รับมอบตัว ผู้ถูกจับมี หน้าที่แจ้งให้ผู้ถูกจับทราบ ถึง “ข้อกล่าวและรายละเอียดแห่งการจับ” ผู้ถูกจับ “มีสิทธิที่จะไม่ให้การ หรือให้การ ก็ได้ และถ้อยคำของผู้ถูกจับนั้น อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้ได้” ตาม มาตรา 83 วรรคหนึ่ง (2) 2. สิทธิในชั้นสอบสวน สิทธิของผู้ต้องหาในชั้นสอบสวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้แก่ 1. ผู้ต้องหามีสิทธิได้รับการแจ้งให้ทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่ถูกกล่าวหาว่าผู้ต้องหาได้ กระทำผิดแล้วจึงแจ้งข้อหาให้ทราบเป็นการแจ้งข้อหานั้นเอง (มาตรา 134 วรรคแรก) 2. ผู้ต้องหามี สิทธิได้รับการสอบสวน ด้วยความรวดเร็วต่อเนื่อง และเป็นธรรม (มาตรา 134 วรรคสาม) ซึ่งใน มาตรานี้ก็ถูกกำหนดไว้ในส่วนหนึ่งของรัฐธรรมฉบับปัจจุบันด้วย 3. ผู้ต้องหามีโอกาสที่จะแก้ข้อหา และที่จะแสดงข้อเท็จจริงอันเป็นประโยชน์แก่ตนได้ (มาตรา 134 วรรคสี่) 4 . ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะมี ทนายความในชั้นสอบสวน(มาตรา 134/1) 5. ผู้ต้องหาที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปีในการถาม ปากคำให้พนักงานสอบสวนแยกการสอบสวนกระทำเป็นสัดส่วนในสถานที่ที่เหมาะสม สำหรับเด็ก ต้องมีสหวิชาชีพ คือ นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องของพนักงานอัยการ และ ทนายความ ร่วมอยู่ด้วยในการถามปากคำเด็กซึ่งเป็นผู้ต้องหา (มาตรา 133 ทวิ, 134/2) จะเห็นได้ว่า ในข้อที่ 5 นี้กฎหมายมุ่งคุ้มครองเด็กและเยาวชนเป็นอย่างมากก็เพราะมองว่าเด็กเป็นบุคคลที่มี กระบวนการทางคิดที่ไม่รัดกุม การตัดสินสินใจต่าง ๆ เมื่อกระทำความผิดอาจจะไม่ได้เกิดจากนิสัย นั้นเองซึ่งผู้สูงอายุก็คงไม่ต่างกัน 6. ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้ใจเข้ารับฟังการ สอบปากคำตนได้ (มาตรา 134/3, 134/4 วรรคหนึ่ง (2) และ7.ในการถามคำให้การผู้ต้องหา ในชั้น สอบสวนนั้น ผู้ต้องหามีสิทธิ ที่จะให้การหรือไม่ก็ได้ ถ้าผู้ต้องหา ให้การถ้อยคำที่ผู้ต้องหาให้การ นั้น อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้ (มาตรา 134/4 วรรคหนึ่ง (1) โดยสรุปแล้วในเรื่องของว่าด้วยหลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลโดยเฉพาะใน ฐานะผู้ต้องหานั้นซึ่งถือเป็นกลุ่มที่ถูกจำกัดสิทธิโดยรัฐเป็นอย่างมากแล้วนั้นไม่ว่าจะด้วยหลักการสากล หรือหลักการของประเทศไทยภายใต้รัฐธรรมนูญ ภายใต้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้น ก็ได้กำหนดสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาไว้ทั้งสิ้นเนื่องเพื่อความยุติธรรมหรือการได้มาซึ่งพยานหลักฐานก็ กลับไปสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีในการดำเนินคดีอาญาหรือการสอบสวนคดี โดยเฉพาะเมื่อมีความ ชราภาพเข้ามาเป็นองค์ประกอบของผู้ต้องหาด้วยแล้วนั้นหลักการในเรื่องสิทธิเสรีภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะต้องคำนึงในการปฏิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรม 2.5 แนวคิดในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม ปัญหาอาชญากรรม เป็นปัญหาที่สังคมส่วนใหญ่มองว่าเป็นการกระทำผิดที่มีอันตรายมีความ รุนแรง และเป็นการกระทำที่ควรมีการดำเนินการให้เหมาะสม ซึ่งผู้กระทำผิดควรต้องได้รับ ผลตอบแทนด้วยการลงโทษจากสังคม ดังนั้น จึงอาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า อาชญากรรมคือ การกระทำ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3