การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

46 ความผิดทางอาญาซึ่งเป็นปัญหาของสังคมที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของ บุคคลอื่นที่อยู่ในสังคม โดยการกระทำผิดทางอาญา ได้แก่ การฆ่าผู้อื่น การทำร้ายร่างกาย การข่มขืน กระทำชำเรา การลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ และการปล้นทรัพย์ ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่าที่กำหนด ไว้ในประมวลกฎหมายอาญาและตามกฎหมายอื่นบัญญัติเป็นความผิด เป็นต้น ดังนั้น ปัญหา อาชญากรรมจึงเป็นปัญหาที่เกี่ยวเนื่อง มาจากปัญหาในสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่มี อันตรายต่อชีวิต และทรัพย์สินของ ประชาชน รวมถึงทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว มีผลกระทบ ต่อการดำเนินชีวิตในประจำวัน และทำให้ประชาชนไม่กล้าที่จะเข้าร่วมกิจกรรมของสังคม โดยทำให้ คนในสังคมมีความไว้วางใจกันมีน้อยลงเลือกที่จะอยู่อย่างแบบลำพังไม่พึ่งพาอาศัยกันก็ด้วยมุมมอง จากปัญหาของอาชญากรรมที่เกิดขึ้นไม่ว่าด้วยสภาพแวดล้อม สังคมและเศรษฐกิจซึ่งถือเป็นปัจจัยที่ ส่งผลให้บุคคลบางกลุ่มต้องกระทำผิดเพื่ออยู่รอด และในปัจจุบันปัญหาอาชญากรรมได้เจริญเติบโต ควบคู่ไปกับความเจริญก้าวหน้าของสังคมและเทคโนโลยี โดยปัญหาที่ผู้วิจัยได้กล่าวไปในบทที่ 1 ก็ ด้วยเนื่องจากปัญหาผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นและความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เดินคู่ขนานกันไปซึ่ง หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยก็น่าจะเป็นปัญหาอาชญากรรมออนไลน์นั้นเองประกอบผู้สูงอายุที่มีสภาวะของ สมองและร่างกายที่เสื่อมถอยอาจจะส่งผลที่จะไปกระทำความผิดนอกจากความผิดตามประมวล กฎหมายอาญาแล้วก็อาจจะเป็นความผิดอาชญากรรมออนไลน์ ดังนั้น การป้องกันและปรามปราม อาชญากรรมจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ของบ้านเมืองทุกฝ่าย และจำเป็นต้องได้รับความ ร่วมมือจากประชาชนเป็นอย่างดี เพื่อป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ซึ่งจะนำไปสู่ความสงบสุขของประชาชนในสังคมไทยและป้องกันความสูญเสียที่จะ เกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและในอนาคต (เฉลิมพรหม อิทธิยาภรณ์, 2560) ทั้งนี้ (สุมนทิพย์ จิตสว่าง, 2555) ได้กล่าวถึงผลกระทบของปัญหาอาชญากรรม ว่าได้ส่งผล กระทบต่อสังคมไทยในหลายด้านอันได้แก่ 1. ประชาชนขาดความปลอดภัยในชีวิตและ ทรัพย์สิน 2. ทำให้ผู้คนในสังคมเกิดความหวาดกลัวไม่เชื่อใจกันมากกว่าในอดีต 3. เกิดข่าวสะเทือนขวัญแก่ ประชาชนทั่วไป 4. ทำให้สังคมเสื่อมโทรมซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อชีวิต และความเป็นอยู่ของประชาชน 5. ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย เพื่อรักษาความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน 6. ทำให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ ในการกระทำความผิด 7. ทำให้เกิดความคิดแค้น และอาจทำให้ผู้เสียหายหรือผู้เกี่ยวข้องเกิด ความแค้นใจจนถึงขั้นก่อเหตุอาชญากรรมขึ้นอีกเพื่อแก้แค้น 8. เกิดความเสื่อมโทรมทางศีลธรรม และ มักมีการกระทำความผิดซ้ำซากและทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น และ 9. ทำให้ผู้กระทำผิดถูกรังเกียจ และไม่เป็นที่ยอมรับจากคนรอบข้าง จึงทำให้มีโอกาสกระทำ ผิดในครั้งต่อไป ชาญคณิต กฤตยา สุริยะมณี และอุนิษา เลิศโตมรสกุล (2553 , หน้า 10-12) ได้กล่าวถึงการ ป้องกันอาชญากรรม และการปราบปรามอาชญากรรมไว้ดังนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3