การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
47 การป้องกันอาชญากรรม หมายถึง การหาแนวทางการวางแผนการเพื่อออกแบบมาตรการในการ ต้านทาน หรือคุ้มครองไม่ให้เกิดเหตุอาชญากรรมขึ้น ในสังคม โดยปกติแล้วนั้นงานป้องกัน อาชญากรรมจะเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจหรือเจ้าหน้าที่รัฐในส่วนที่เกี่ยวข้องเช่น เจ้าหน้าที่ ฝ่ายปกครอง ซึ่งจะมีแนวทางในปฏิบัติงาน ได้แก่ 1. การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานสายตรวจ ให้มีความสามารถในการป้องกัน และ ปราบปรามอาชญากรรมอย่างเหมาะสมกับสภาพอาชญากรรม สภาพพื้นที่ สภาพเศรษฐกิจ และ สภาพของสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของประชากรสูงวัยในปัจจุบัน ทั้งนี้การบริหารงาน สายตรวจ จะต้องจัดการอย่างเป็นระบบโดยอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลท้องถิ่นข้อมูล อาชญากรรมที่ ถูกต้องและทันสมัย 2. การกำหนดรูปแบบ และแผนการตรวจให้เหมาะสมกับสถานภาพของอาชญากรรม สภาพของ ท้องที่ โดยเน้นการกระจายกำลังเข้าไปตรวจรักษาความสงบเรียบร้อย ในพื้นที่ และป้องกัน อาชญากรรมให้ครอบคลุมอย่างทั่วถึงเดินทางไปยังที่เกิดเหตุ ได้อย่างรวดเร็วโดยการปรับปรุงพัฒนา ศูนย์วิทยุ สร้างความรู้ความเข้าใจในการแจ้งเหตุของประชาชน และความรู้ความเข้าใจในการไปยังที่ เกิดเหตุและการปฏิบัติ ณ จุด เกิดเหตุของตำรวจสายตรวจ 3. การเน้นการจัดสายตรวจเดินเท้า ออกตรวจในพื้นที่ชุมชนหนาแน่นพื้นที่ธุรกิจศูนย์การค้า และสถานที่ล่อแหลมต่อการก่ออาชญากรรม เพื่อตรวจตรารักษาความสงบเรียบร้อยและสร้าง ความ อบอุ่นใจให้แก่ประชาชนมากที่สุด 4. การจัดเจ้าหน้าที่ตำรวจตามทางแยก หรือจุดสำคัญที่มีประชาชนสัญจรไปมาเป็นจำนวน มาก เพื่อเป็นจุดให้บริการรับแจ้งและให้บริการต่างๆ แก่ประชาชนอันเป็นแนวทางในการเสริมสร้าง ความ ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 5. การป้องกันอาชญากรรมที่กระทำต่อธนาคาร ร้านค้าทอง สถาบันการเงิน ร้านค้า และสถาน บริการน้ำมันที่เปิดตลอด 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะการประทุษร้ายต่อทรัพย์ โดยจัดสายตรวจ และสมุด ตรวจประจำจุดให้สายตรวจ สายตรวจจราจร และสายสืบผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนไปลงชื่อ ตรวจ ประสานให้มีสัญญาณเตือนภัย ระบบโทรทัศน์วงจรปิด และพนักงานรักษาความปลอดภัย ประจำจุด ล่อแหลมต่อการเกิดอาชญากรรมเหล่านี้ 6. การจัดเจ้าหน้าที่สายตรวจกำหนดมาตรการร่วมกับโรงเรียน สถาบันกา รศึกษา และ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในการควบคุมความประพฤติของเด็กและเยาวชน มิให้เบี่ยงเบนไป ในทางที่ผิดกฎหมายมั่วสุมเกี่ยวข้องกับยาเสพติดก่อเหตุทะเลาะวิวาทก่อความเดือดร้อนในรูปแบบ ต่างๆ ต่อสังคมเพื่อเป็นการป้องกันมิให้เด็กและเยาวชน ประพฤติและปฏิบัติตนเสียหายอันเป็นผล ต่อ อนาคตของตนเองและครอบครัว
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3