การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

49 และอำนาจของสิ่งเหนือธรรมชาติ เช่น สังคมไทยสมัยสุโขทัย และสมัยกรุงศรีอยุธยา ประชาชนมี หน้าที่ป้องกัน และจัดการกับอาชญากรรมในหมู่บ้านของตนเอง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุง รัตนโกสินทร์มีการจัดทำกฎหมายที่เรียกว่า “โจรห้าเส้น” เพื่อให้ประชาชนช่วยกันจับโจรได้ในระยะ ห้าเส้นนอกจากนี้ยัง ปรากฏว่ามีการชดใช้ค่าเสียหายเป็นเบี้ยแก้กันอีกด้วย ต่อมาเมื่อรัฐชาติเจริญขึ้น ได้รวมอำนาจเข้าสู่ ศูนย์กลางรวมทั้งการจัดการความขัดแย้ง การป้องกัน และแก้ไขปัญหา อาชญากรรมผ่านทาง กระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก แต่อย่างไรก็ตาม ชุมชน และประชาชนในเขต พื้นที่ต่างจังหวัด หรือในเขตพื้นที่ชนบทยังคงใช้ภูมิปัญญาและพัฒนาระบบการรักษาความปลอดภัย ของชุมชนด้วย ตนเอง เช่น การพัฒนาการมีส่วนร่วมสามารถจัดการความขัดแย้งและอาชญากรรม ประเภทที่ไม่มี ความซับซ้อนและไม่เกี่ยวข้องกับผู้มีอิทธิพลหรือองค์กรภาคราชการ การป้องกันปัญหาอาชญากรรมของประเทศไทยในปัจจุบันมีรูปแบบการดำเนินงานใน ลักษณะ ของกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก ที่เน้นการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นสำคัญ ซึ่ง วิวัฒนาการของตำรวจในระยะเริ่มแรก เน้นที่การใช้ยุทธวิธีตำรวจแบบจารีตประเพณี ได้แก่ การตรวจ ท้องที่ ตู้ยาม การตั้งจุดตรวจ การระดมกำลังออกปราบปรามอาชญากรรม การใช้ยุทธวิธีตำรวจแบบ จารีตประเพณีดังกล่าวได้ปรากฏว่าการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมไม่ได้ผลเท่าที่ควร ประชาชนมี ความหวาดหวั่นที่จะตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม และได้พยายามช่วยเหลือตัวเองในเบื้องต้น ดังจะพบ เห็นโดยทั่วไปว่า บ้านต้องมีการสร้างกำแพงสูงๆ มีเหล็กดัดใส่หน้าต่างอย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้ การ ป้องกันปัญหาอาชญากรรมได้มีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องโดยมีรูปแบบการดำเนินงาน ที่พบ 3รูปแบบ ได้แก่ 1. กระบวนการตำรวจที่เน้นกลยุทธ์ เป็นยุทธศาสตร์ การป้องกันอาชญากรรมแบบดั้งเดิมที่ หน่วยงานตำรวจยังคงใช้อยู่ เช่น การจัดสายตรวจ การตั้งจุด ตรวจจุดสกัด การเข้าถึงที่เกิดเหตุอย่าง รวดเร็ว แต่มีการปรับทรัพยากรบุคคล แผนการปฏิบัติที่มีอยู่ ให้สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพปัญหา ในพื้นที่ เป้าหมายขององค์ประกอบนี้ คือ การกำจัดปัจจัยที่ ก่อให้เกิดการกระทำผิดหรือสิ่งที่ทำให้ ชุมชนไร้ระเบียบและส่งเสริมให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการคิดและลงมือปฏิบัติในสิ่งที่ชุมชนเห็นว่า สมควรดำเนินการ 2. กระบวนการตำรวจที่มุ่งเน้นชุมชน หมายถึง กิจกรรมโครงการต่าง ๆ ที่จะช่วยให้มีการสื่อสาร ระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจและประชาชนในชุมชน มีมากขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าใจ ความรู้สึก ความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง เช่น โครงการสายตรวจประชาชน ตำรวจบ้าน เพื่อนบ้านเตือนภัย เป็นต้น 3. กระบวนการตำรวจที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหา เป็นความพยายามร่วมกันระหว่างชุมชนและ เจ้าหน้าที่ตำรวจในการชี้ปัญหา สาเหตุของอาชญากรรม และความไร้ระเบียบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3