การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
50 ชุมชน กำหนดแนวทางในการแก้ปัญหา ไปจนถึงขั้นตอน การแก้ปัญหา เช่น การสร้างชุมชนเข้มแข็ง เป็นต้น อย่างไรก็ตามการป้องกันและแก้ไขปัญหาให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดนั้น ควรจะเป็นการ ร่วมมือกัน ทั้งระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนหรือภาคประชาชน เนื่องจากประชาชนจะทราบปัญหาและ เข้าใจ ปัญหาแท้จริงที่เกิดขึ้นในชุมชนหรือในพื้นที่ ที่อยู่อาศัยของตนได้มากกว่าหน่วยงานของ ภาครัฐ ดังนั้น กลยุทธ์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองการป้องกันและแก้ปัญหาอาชญากรรมโดยการ ให้ประชาชนเข้ามา เป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาดังกล่าวคือ กลยุทธ์ตำรวจชุมชนและมวลชน สัมพันธ์ ของสำนักงาน ตำรวจแห่งชาตินั่นเอง (ชาญคณิต กฤตยา และคณะ, 2553) 2.6 แนวคิดและทฤษฎีการลงโทษทางอาญา การกำหนดโทษทางอาญานั้น คือ วิธีการการลงโทษแก่ผู้ที่กระทำความผิด เพื่อแก้ไขให้ผู้กระทำ ความผิดไม่กล้ากระทำความผิดซ้ำอีก และเป็นตัวอย่างให้ผู้อื่นในสังคมเห็น เพื่อให้มีความเกรงกลัวต่อ โทษที่จะได้รับและไม่กล้าที่จะกระทำผิด ความเห็นทางทฤษฎีของนักวิชาการด้านกฎหมายได้อธิบายความหมายของโทษทางอาญาไว้ ดังนี้ ศาสตร์ตราจารย์ โขฮัน แอนเดอนีส (ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน, 2555) (Johanncs Andenacs) อธิบายว่า โทษทางอาญา จะต้องประกอบด้วยลักษณะสำคัญดังนี้ คือ โทษทางอาญา เป็นผลร้ายที่รัฐนำมาใช้กับผู้กระทำความผิด ผลร้ายที่จะถือว่าเป็นโทษทางอาญา ตามความหมายนี้จะต้องเป็นโทษที่รัฐซึ่งมีอำนาจนำมาใช้กับผู้กระทำความผิดทางอาญาด้วย โดยโทษ ทางอาญาต้องมีขึ้นเมื่อมีการกระทำผิดกฎหมาย หากไม่มีการกระทำผิดกฎหมายแล้วยังได้รับผลร้าย ไม่ถือเป็นโทษทางอาญา และโทษทางอาญาเป็นผลร้ายซึ่งต้องการตอบแทนให้ผู้กระทำผิดทางอาญารู้ ว่าเป็นผลร้ายที่ได้รับจากรัฐ โดยตรงจากการกระทำผิด ไม่ใช่ผลร้ายที่เกิดขึ้นโดยอ้อม ศาสตราจารย์ รอส' (ALF Ross) เห็นว่า โทษทางอาญา เป็นการตอบสนองของสังคม ซึ่งมีลักษณะสำคัญ คือ โทษทางอาญานั้นจะต้องเกิดขึ้นเมื่อมีการกระทำความผิดดามกฎหมาย โดยไทยทางอาญานั้น ต้องถูกกำหนดขึ้นและบังคับใช้โดยผู้มีอำนาจเท่านั้น ซึ่งไทยทางอาญาจะต้องมีลักษณะเป็นผลร้ายต่อ ผู้กระทำความผิด และต้องเป็นผลร้ายที่แสดงถึงการตำหนิผู้กระทำความผิดว่าผู้นั้นได้กระทำในสิ่งที่ไม่ สมควร หากผลร้ายนั้นไม่มีลักษณะเป็นการตำหนิ ก็ไม่ถือเป็นไทยตาม อาจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ กล่าวถึงความหมายของโทษเอาไว้ว่า เป็นวิธีการบังคับที่รัฐใช้ปฏิบัติต่อ ผู้กระทำความผิดอาญา (จิตติ ติงศัภทิย์, 2536)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3