การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
51 โทษ ตามพจนาบุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2525 ในความหมายทั่วไปหมายถึง ความร้าย ความผิด ผลแห่งความผิดที่ต้องรับ(สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2525) จึงเห็นได้ว่า จากความหมายทั้งหมดนั้น โทษ หมายถึง การกระทำของผู้มีอำนาจปกครองที่ กระทำการอันหนึ่งอัน ใดที่มีลักษณะเป็นผลร้าย ต่อผู้ที่กระทำผิดกฎระเบียบภายใต้การปกครองของ รัฐนั้นๆ ซึ่งผลร้ายนั้นกระทำไปเพื่อเป็นการตอบแทนที่ผู้กระทำผิด ได้กระทำผิดต่อกฎระเบียบ แ น ว ค ว า ม คิ ด ห ลั ก ข อ ง ส ำ นั ก อ า ช ญ า วิ ท ย า ดั้ ง เดิ ม ชี ซ า ร์ แ บ็ ค ค า เ รี ย (Cesare Bonesana,Marchese de Beccaria) ผู้ก่อตั้งแนวความคิดอาชญาวิทยาดั้งเดิม นักปราชญ์ชาวอิตาลี มีหลักปรัชญาที่สำคัญ คือ เจตจำนง( พรชัย ขันตี. , 2558) (Frec will! ซึ่งเชื่อว่าหลักเจตจำนงนี้เป็น ตัวกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์หลักปรัชญานี้มีว่า มนุษย์เป็นผู้มีเหตุผลในการมุ่งแสวงหาเพื่อให้ได้มา ซึ่งประโยชน์สูงสุดทางด้านวัตถุหรือด้านจิตใจ และในการตัดสินใจเลือกกระทำการหรืองดเว้นการ กระทำใด ๆ มนุษย์จะพิจารณาทางเลือกต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างมีเหตุมีผล เพื่อพิจารณาและคำนวณถึงผล ประ โยชน์หรือผลเสียที่จะได้รับจากการกระทำนั้น ๆ หลังจากนั้นจึงเลือกกระทำหรืองดเว้น พฤติกรรมนั้น แบ็คคาเรีย เชื่อว่าหากจะป้องกันไม่ให้มนุษย์กระทำผิดกฎหมาย โทษทางอาญานั้นต้อง มีลักษณะดังนี้ สัดส่วนของการลงโทษ ความต้องการของสังคม คือ การป้องกันมิให้มีการประกอบอาชญากรรมและความเสียหายที่จะ เกิดขึ้น ดังนั้น การป้องกันไม่ให้บุคคลกระทำผิดต้องมีบทกำหนดโทษที่มีความรุนแรงเป็นสัดส่วน มากกว่าสิ่งยั่วยุให้บุคคลกระทำผิด ทำให้ต้องมีการกำหนดโทษให้ได้สัดส่วนกับการกระทำผิด (พรชัย ขันตี,2558) ความเหมาะสมของความรุนแรงในการลงโทษ ความรุนแรงของการลงโทษต้องมีผลในทางป้องกันขับยั้งข่มขู่ ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้บุคคล กระทำผิดกฎหมายได้ โดยที่ความรุนแรงต้องมีมากกว่าข้อได้เปรียบหรือผลประโยชน์ที่จะได้รับจาก อาชญากรรม แต่อย่างไรก็ตาม โทษที่เหมาะสมต้องไม่ใช่การทรมานหรือโทษที่ทารุณโหดร้ายและไม่ ส่งผลในลักษณะของการแก้แค้นทดแทน และการจำคุกตลอดชีวิตจะมีความรุนแรงมากกว่าโทษ ประหารชีวิต เพราะการลงโทษจำคุกผู้กระทำผิดตลอดชีวิต จะทำให้บุคคลทั่วไปได้เห็นเป็นบทเรียน ตลอดไป (พรชัย ขันตี,2558)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3