การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

53 ฟังคำให้การของนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ชำนาญการในทางสาขาวิชา เช่น แพทย์ นิติเวชวิทยา เพื่อประกอบการพิจารณาคดี เนื่องจากพฤติการณ์แห่งคดีบางประการ ยากที่จะนำสืบต่อสู้กันด้วย ประจักษ์พยาน การนำพยานผู้เชี่ยวชาญมาช่วยในการพิสูจน์สามารถกระทำได้ง่าย และได้ผลแม่นยำ กว่า และเสนอให้กระบวนการยุติธรรมคำนึงถึงลักษณะเฉพาะส่วนบุคคล ซึ่งอาจแตกต่างกันเฉพาะตัว แต่ละบุคคล ทำให้ไม่สามารถกำหนดเจตจำนงเสรีได้เท่ากับผู้อื่น ดังนั้น จำเป็นต้องมีข้อยกเว้นให้ บุคคลเหล่านี้บ้าง เช่น มีการผ่อนปรนในการลงโทษ การลดโทษต่างๆ ให้เหมาะสมกับผู้กระทำ ความผิดแต่ละราย สำนักอาชญาวิทยาปฏิฐานนิยม ผู้ริเริ่มแนวคิดนี้ คือ ซีซาร์ ลอมโบรโซ (CesareLombroso) เป็นทั้งแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลีเชื้อสายยิว เป็นผู้ริเริ่มนำหลักการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในการศึกษาสาเหตุของพฤติกรรมอาชญากรรม โดยมีความเชื่อในสาเหตุของพฤติกรรม อาชญากรรมแตกต่างไปจากแนวความคิดสำนักอาชญาวิทยาดั้งเดิม โดยเชื่อว่าอาชญากรรมมีสาเหตุ มาจากความผิดปกติภายในร่างการของบุคคล เช่น ศรีษะ รูปหน้า รูปร่าง แขนขา ลอมโบร โซเชื่อว่า อาชญากรจะมีความแตกต่างทางชีวะภาคเมื่อเปรียบเทียบกับประชาชนทั่วไป นักทฤษฎีอาชญาวิทยาแนวชีววิทยายุคปัจจุบันไม่ยอมรับหลักการของทฤษฎียุคเก่า ไม่ว่าจะเป็น ทฤษฎีของ ลอมโบร โซ ที่อธิบายว่าความผิดปกติทางด้านร่างกายเป็นมูลเหตุของอาชญากรรม โดยนัก ทฤษฎีชีววิทยายุดปัจจุบันยืดหลักการว่า พฤติกรรมเป็นผลสืบเนื่องมาจากปฏิสัมพันธ์ระหว่าง องค์ประกอบด้านชีววิทยาของอวัยวะร่างกายกับสภาพแวดล้อมกายภาพ ดังนั้นจึงไม่ให้ความสำคัญ กับหลักการกรณี พฤติกรรมอาชญากรรมมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมนักทฤษฎียุคปัจจุบันเชื่อว่า ชีววิทยาของอวัยวะร่างกายเป็นเพียงตัวกระตุ้นเริ่มต้นที่จะทำให้เกิดพฤติกรรมทั้งปกติและเบี่ยงเบน แต่จำเป็นต้องมีองค์ประกอบด้านสภาพแวดล้อมที่บุคคลประสบอยู่มาทำให้เกิดพฤติกรรม อาชญากรรม (พรชัย ขันตี. 2558) การลงโทษผู้กระทำผิดจึงควรเป็นการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด ให้เหมาะสมในแต่ละรายบุคคล เพื่อให้กลับมาเป็นคนดีของสังคม โดยเน้นการกำหนดโทษให้ เหมาะสมกับผู้กระทำผิดมิใช่เหมาะสมกับความผิด (Punishment to fit the criminal not the) (อัจฉรียา ชูตินันท์, 2518) ทฤษฎีตีตราแนวใหม่ นักวิชาการที่เสนอแนวคิดนี้ที่สำคัญคือ จอห์น เบรทเวท(Baithwaite) ซึ่ง ได้อธิบายว่า พฤติกรรมของอาชญากรรมของบุคคลอาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกหลายประการ หากแต่เมื่อสังคมได้ดำเนินการลงโทษเท่ากับเป็นการทำให้บุคคลดังกล่าวเกิดความละอาย อันจะส่งผล ให้บุคคลดังกล่าวได้สร้างความสำนึกในตัวเองว่าเป็นอาชญากรและจะมีพฤติกรรมดังกล่าวต่อไปอีกใน อนาคตซึ่ง (เบรทเวท) เรียกกระบวนการลงโทษทางสังคมในลักษณะนี้ว่าเป็นการตีตราหรือทำให้ บุคคลเสียหน้า เท่ากับเป็นการปิดโอกาสให้บุคคลดังกล่าวกลับมามีพฤติกรรมสอดคล้องกับบรรทัด ฐานของสังคมต่อไปอีก (พรชัย ขันตี,2558) สาเหตุที่การตีตราทำให้บุคคลที่กระทำผิดได้รับความอับอาย ก็เนื่องมาจากเป็นกระบวนการ ดำเนินคดี ที่มีลักษณะ ไม่คำนึงถึงหลักมนุษยธรรม เป็นการตีตราที่ตัวบุคคลโดยไม่คำนึงถึงพฤติกรรม

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3