การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

54 เบี่ยงเบนที่เกิดขึ้นและทำให้พฤติกรรมเบี่ยงเบนมาเป็นสัญลักษณ์ของตัวบุคคลที่ถูกตีตรา ซึ่ง กระบวนการตีตรานี้ มีจุดประสงค์ที่จะลดอาชญากรรมในสังคม แต่กลับส่งผลให้บุคคลมีพฤติกรรม อาชญากรรมเพิ่มขึ้น เบรทเวทยอมรับว่า สาเหตุของพฤติกรรมอาชญากรรมในครั้งแรกมาจากปัจจัยภายในร่างกาย ของบุคคลและสภาพแวดล้อมทางสังคม แต่เบรทเวทก็ไม่ได้ให้ความสนใจกับสาเหตุของพฤติกรรม อาชญากรรมครั้งแรกมากนัก แต่กลับมาให้ความสนใจกับสาเหตุของพฤติกรรมอาชญากรรมครั้งต่อไป โดยนำเสนอว่าพฤติกรรมอาชญากรรมของบุคคลจะลดน้อยหรือเพิ่มมากขึ้นขึ้นอยู่กับกลไกความ ควบคุมทางสังคม หากสังคมใดมีกระบวนการลงโทษผู้กระทำผิดในลักษณะที่เป็นการตราหน้าหรือทำ ให้บุคคลได้รับความอับอาย บุคคลก็จะมีพฤติกรรมกลายเป็นอาชญากรรมมากขึ้นและไม่สามารถ แก้ไขได้ ในทางตรงกันข้ามหากบุคคลได้กระทำผิดและถูกดำเนินการ โดยกระบวนการให้อภัยและ ยินดีรับบุคคลดังกล่าวกลับเข้ามาในสังคม บุคคลนั้นก็จะสำนึกผิดต่อการกระทำของตนเอง และจะงด เว้นหรือเลิกพฤติกรรมอาชญากรรมไปในที่สุด (พรชัย ขันตี,2558) ทฤษฎีตีตรามีนโยบายลงโทษผู้กระทำผิดที่สำคัญ ดังนี้ การลดโทษทางอาญา การคำเนินคดีอย่างเข้มงวดและรุนแรงเกินขอบเขตสำหรับความผิดบาง ประเภทที่ไม่ร้ายแรงได้สร้างปัญหาทางด้านการบริหารงานยุติธรรม เช่น การละเมิดสิทธิมนุษยชน ภาระค้านงบประมาณ การไม่มีเวลาดำเนินการกับความผิดร้ายแรง ทั้งเป็นการทำให้ผู้กระทำผิดไม่ สามารถกลับตัวได้ และพัฒนาพฤติกรรมอาชญากรรมต่อไป (พรชัย ขันตี,2558) การเบี่ยงเบนผู้กระทำความผิดออกนอกกระบวนการยุติธรรม หมายถึง การนำผู้กระทำความผิด ออกนอกกระบวนการยุติธรรมอย่างเป็นทางการ และนำบุคคลเหล่านั้นเข้าสู่กระบวนการปรับปรุง แก้ไข เป็นการป้องกันมิให้ถูกตราหน้าว่าเป็นผู้กระทำผิด การบำบัดฟื้นฟู การหางานประกอบอาชีพ หากผู้กระทำผิดได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ก็จะไม่คำเนินคดีกับผู้กระทำผิดต่อไป การลงโทษโดยหลีกเสี่ยงการจำคุก การลงโทษในรูปแบบนี้ได้รับการยอมรับว่า เป็นแนวทางหนึ่ง ในการลงโทษผู้กระทำผิดให้สำนึกในพฤติกรรมของตนเอง แต่ไม่ได้ทำให้ผู้กระทำความผิดคิดว่าสังคม ไม่ยอมรับนอกจากนี้ยังเป็นการลดการะค่าใช้ง่ายของกระบวนการยุติธรรมและลดปริมาณผู้ต้องขังใน เรือนจำด้วย กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ เป็นการลงโทษเพื่อทำให้ผู้กระทำผิดได้รับทราบว่าได้กระทำ ผิดลงไป แต่สังคมได้เปิดโอกาสให้ผู้กระทำผิดได้กลับตัวเป็นคนดี โดยผ่านขั้นตอนกระบวนการที่ได้ กำหนดขึ้น โดยทั่วไปจะต้องมีการเจรจากับเหยื่อหรือผู้เสียหาย บุคคลในชุมชนเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความพอใจให้กับทุกฝ่ายโดยยึดหลักการให้เหยื่อ ได้รับการชดใช้ ให้ผู้กระทำผิดได้ สำนึกในการกระทำผิดและต้องการปรับตัวเป็นคนดี และให้ชาวชุมชนยอมรับให้ผู้กระทำผิดกลับคืนสู่ สังคมตามปกติต่อไป

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3