การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
55 จึงเห็นได้ว่า วิวัฒนาการของโทษทางอาญานั้น จะแตกต่างไปในแต่ละยุคแต่ละสมัย และแตกต่าง กันตามความเชื่อ และวัฒนธรรม โดยการลงโทษทางอาญาในสมัยโบราณนั้น จะมุ่งเน้นไปที่การแก้ แค้น การเอาคืนผู้กระทำความผิด ต่อมา เมื่อมนุษย์มีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มากขึ้น ก็มีแนวคิด ว่าผู้กระทำความผิดนั้น เป็นผู้ที่ผิดปกติทางด้านร่างกาย อารมณ์ หรือผิดปกติทางด้านโครโมโซม ดังนั้น การลงโทษทางอาญาควรพิจารณาโทษเป็นรายบุคคล โดยคำนึงถึงความผิดปกติของบุคคลนั้นๆ ด้วย แต่เมื่อมนุษย์มีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากขึ้น จึงทำให้รู้ว่า ความผิดปกติเหล่านั้น ไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในการที่จะทำให้บุคคลกระทำความผิดอาญา การลงโทษทางอาญาสมัยใหม่นี้จึงมุ่ง ไปที่ การแก้ไขพื้นฟูผู้กระทำผิด เพื่อให้ผู้กระทำความผิดเหล่านั้นได้มีโอกาสกลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติ สุขในสังคมต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม การลงโทษเพื่อแก้แค้นทดแทนนั้น ก็ยังไม่ขาดหายไปจากสังคม มนุษย์ เนื่องจากสังคม ยังต้องการที่จะเห็นผู้กระทำความผิด โดยเฉพาะผู้กระทำความผิดอาญา ร้ายแรง ได้รับความทุกข์ทรมาน เช่นเดียวกับความผิดที่เกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้สังคม และผู้เสียหาย รู้สึก ว่าได้รับความยุติธรรม ทำให้สังคมเกิดความพึงพอใจ และในขณะเดียวกันก็เป็นการข่มขู่คนในสังคม ไม่ให้กระทำความผิด (ชาคร ขาวสบาย, 2563) 2.7 แนวคิดการกำหนดโทษในทางอาญา ในสังคมหนึ่ง ๆ นั้นยอมมีมาตรการควบคุมความประพฤติของคนในสังคม เพื่อให้สังคมนั้น ๆ มี ความสงบสุข ให้เป็นไปตามสิ่งที่ควรจะเป็นและมาตรการดังกล่าวก็คือกฎหมาย หรือกฎเกณฑ์ ข้อบังคับต่าง ๆ หากผู้ใดกระทำการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับหรือกฎเกณฑ์ทีกำหนดไว้ จะได้รับการลงโทษ การลงโทษจึงเปรียบเสมือนเป็นเครื่องมือในการควบคุม และเป็นมาตรการที่ นำมาใช้กับผู้กระทำความผิดแต่การลงโทษผู้กระทำผิดจะต้องเป็นการลงโทษที่เหมาะสมกับตัวบุคคล แต่ละรายเพื่อให้เหมาะสมและตรงกับวัตถุประสงค์ของการลงโทษอย่างแท้จริงดังนั้นการลงโทษ ผู้สูงอายุก็เช่นกันจะต้องมีการกำหนดมาตราลงโทษให้เหมาะสมซึ่งคิดว่าควรแตกต่างจากการลงโทษ ผู้กระทำผิดทั่วไป การกำหนดโทษถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นตอนหนึ่งของการดำเนินกระบวนการยุติธรรมทาง อาญาซึ่งในแต่ละประเทศจะมีรายละเอียดการดำเนินคดีที่แตกต่างกันกล่าวคือในประเทศที่ใช้ระบบ ของคอมมอนลอว์ ซึ่งจะมีรูปแบบการดำเนินคดีอาญา แบบระบบคู่ปรปักษ์ที่มีการแยกขั้นตอนการ วินิจฉัยความผิดกับขั้นตอนการกำหนดโทษออกจากกนี้เป็น 2 ส่วน (เกียรติภูมิ แสงศศิธร, 2533) ส่วนในประเทศที่ใช้ระบบของ “ซีวิลลอว์” นั้น จะมีรูปแบบการดำเนินคดีอาญาแบบระบบไต่ สวนหาความจริง (Inquisitorial System) ซึ่งในระบบนี้ผู้พิพากษาจะเป็นผู้ดำเนินการค้นหาความจริง ด้วยตนเองดังนั้นจึงไม่มีการแยกขั้นตอนการวินิจฉัยความผิด และขั้นตอนการกำหนดโทษ ออกจาก กัน เพราะในระหว่างการพิจารณาคดี ผู้พิพากษาจะมีข้อมูลเกี่ยวกับตัวจำเลยและข้อมูลอื่น ๆ ที่ จำเป็นและสำคัญต่อการลงโทษจำเลยอย่างครบถ้วนแล้วซึ่งประเทศไทยก็ได้ใช้ระบบดังกล่าวดังนั้นจึง แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของพยานหลักฐานซึ่งอาจจะหมายถึงถ้อยคำหรือตัวผู้สูงอายุเอง (พรธิดา เอียมศิลา,2549)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3