การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

56 ในส่วนความหมายของ “การกำหนดโทษ” นั้นสามารถแยกพิจารณาออกได้เป็น 2 ลักษณะ ด้วยกัน กล่าวคือ ความหมายในทางกฎหมายซึ่งหมายถึง ขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการยุติธรรม ทางอาญาซึ่งจำเลยจะมาปรากฏตัวต่อหน้าศาล เพื่อรับการลงโทษ และในส่วนความหมายในทาง อาชญาวิทยา ชูไททัสหรีด (Sue Titus Ried) นักอาชญาวิทยาได้ให้ความหมายไว้ว่า การกำหนดโทษ หมายถึง คำตัดสินของศาลอย่างเป็นทางการที่มีต่อจำเลย ซึ่งให้การรับสารภาพหรือถูกตัดสินว่าเป็น ผู้กระทำความผิด แนวคิดในการกำหนดโทษในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่า การลงโทษผู้กระทำความผิดด้วย วัตถุประสงค์ที่จะแก้แค้นทนแทน หรือป้องกันนั้นไม่สามารถที่จะป้องกันสังคมจากอาชญากรรมที่ เกิดขึ้นได้ เพราะการลงโทษที่ดีนั้นจะต้องเป็นการลงโทษที่เหมาะสมกับตัวบุคคลมากกว่าการลงโทษ เพื่อแก้แค้นที่จะให้ผู้กระทำความผิดได้รับผลเช่นนั้น เช่น กรณีการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด นั้นก็จะมีการบำบัดฟื้นฟูหากความผิดนั้นเข้าหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ซึ่งเป็นการดีเพราะถือ เป็นการลงโทษที่เหมาะสมโดยมองว่าผู้เสพคือผู้ป่วย เป็นต้น ซึ่งในกรณีผู้สูงอายุที่กระทำความผิดก็ เช่นกันโดยมองว่าร่างกายหรือสมองมีไม่ดีเท่าบุคคลผู้กระทำผิดทั่วไปหากจะลงก็ควรพิจารณา กระบวนการให้เหมาะสมนั้นเองโดยมุ่งที่จะแก้ไขไม่ให้ผู้กระทำความผิดหวนไปกระทำความผิดซ้ำอีก และทำให้ผู้กระทำความผิดสามารถกลับคืนสู่สังคมหรือได้รับการพิจารณาหรือบริการจากรัฐแม้จะ เป็นผู้กระทำผิดได้อย่างเหมาะสมอย่างแท้จริง (พรธิดา เอียมศิลา, 2549) ฉะนั้น การลงโทษผู้กระทำ ความผิดจึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับการแก้แค้นทดแทนเพียงอย่างเดียวยังต้องคำนึงถึงฐานความผิดที่ได้กระทำ และโทษที่จะลงแก่ผู้ที่กระทำความผิดด้วยและอายุของผู้กระทำความผิด ว่ามีสัดส่วนเหมาะสมกับสิ่ง ที่ได้กระทำความผิดหรือไม่ 2.7.1 หลักความชอบด้วยกฎหมายของการลงโทษ หลักความชอบด้วยกฎหมายนี้ประกอบด้วยหลักการสองด้าน ด้านหนึ่ง คือ การบังคับใช้ โทษอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กฎหมายกำหนดและอีกด้าน คือ ไม่มีการใช้กฎหมายย้อนหลัง การบังคับใช้โทษอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กฎหมายกำหนดนั้นเป็นหลักที่บังคับให้องค์กรที่ มีอำนาจจะกำหนดโทษได้แต่เพียงโทษที่กำหนดไว้ตามกฎหมายและเพื่อวางกรอบในการใช้ดุลพินิจ ซึ่งกฎหมายยังอาจกำหนดอัตราโทษที่ต่างออกไปไว้ในกฎหมายด้วย ในส่วนของการไม่ใช้กฎหมายย้อนหลังซึ่งหลักการนั้นมีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับโทษและ บทบัญญัติที่ใช้ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่งการตีความกฎหมายในทางที่เป็นคุณกับผู้ถูกกล่าวหาทำให้ มีการบังคับใช้กฎหมาย แม้ความผิดจะได้กระทำก่อนมีการประกาศใช้กฎหมายก็ตาม ถ้ากฎหมายใหม่ นั้นมีบทลงโทษที่เบากว่า ในกรณี ที่หากกฎหมายใหม่มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับฐานความผิด จะต้องมีการ เปรียบเทียบเกี่ยวกับความหนักเบาของความผิดนั้น ๆ เช่น การยกเลิกความผิดฐานออกเช็คไม่มีเงิน ตามกฎหมายลงวันที่ 31 ธันวาคม 1991 และให้มีผลทันทียอมมีผลใช้บังคับกับการกระทำที่เกิดขึ้น ก่อนกฎหมายใช้บังคับและศาลยังไม่มีคำพิพากษา ถ้าการเปลี่ยนแปลงกฎหมายมีขึ้นในส่วนของโทษ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3