การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
57 จะต้องมีการเปรียบเทียบลักษณะของโทษตามลำดับชั้นของโทษ 3 ระดับ คือระดับอุกฉกรรจ์ ระดับกลางหรือระดับลหุโทษ ถ้าเป็นโทษในลักษณะเดียวกันจะต้องพิจารณาระดับชั้นของโทษ ระหว่างโทษในลักษณะและระดับเดียวกัน ปัญหาอยู่ทีโทษชั้นต่ำลดลงแต่โทษชั้นสูงเพิ่มขึ้นซึ่งจะถือว่า ในกรณีนี้จะพิจารณาอย่างไร จะใช้บทบัญญัติทั้งสองผสมกัน หรือถือว่ากฎหมายที่มีอัตราโทษชั้นสูง เป็นโทษที่มีระดับอัตราโทษทีต่ำกว่า จะถือเอากฎหมายที่การลงโทษสูงสุดมีโอกาสน้อยกว่าเป็นเกณฑ์ 2.7.2 หลักความได้สัดส่วนในการลงโทษ หลักการกำหนดโทษตามสัดส่วนของการกระทำความผิดนี้ มีวัตถุประสงค์หลัก คือ เป็น การเลือกบทลงโทษที่มีความเหมาะสมกับระดับความหนักเบาของความผิด ซึ่งระบบที่ลงโทษการ กระทำความผิดทุกกรณีเหมือนกัน อาจทำให้ถูกตำหนิระบบดังกล่าวได้ว่า เป็นการกำหนด อัตราโทษ ที่หยาบจนเกินไป เมื่อมีการนำหลักความได้สัดส่วนมาใช้ก็จะต้องมีการจัดระดับชั้นของข้อเท็จจริงที่จะ เข้าสู่การพิจารณาของผู้พิพากษา และระดับของโทษ ซึ่งโทษบ่างอยางอาจจะง่ายที่จะจัดระดับ แต่ โทษบางกรณีก็จัดระดับยาก เช่น การให้ทำงานบำเพ็ญประโยชน์สาธารณะ 120 ชั่วโมงนั้นหนัก หรือ เบากว่าการรอการลงโทษ โดยผู้พิพากษากำหนดเงื่อนไขการคุมประพฤติ (Sursis Probatoire)และ โดยเฉพาะการเปรียบเทียบระหว่างโทษจำคุกที่อยู่ ในระดับที่เหนือกว่า โทษปรับ แต่ในความรู้สึกของ คนทั่วไปแล้วโทษปรับ 10,000 บาท ที่มีการบังคับทันทีนั้น หนักกว่าโทษจำคุก 2 เดือน แต่ศาลให้รอ การลงอาญา ดังนั้น ในทางความเป็นจริงปัญหาจึงอยู่ที่ความหนักเบาของโทษ ต้องกำหนด โดย หลักการ(In Abstracto) ในขณะที่คนแต่ละคนมักจะพิจารณาตามสภาพความเป็นจริง ( In Concreto)จากผลกระทบที่มีต่อชีวิตทางสังคมของตน การถูกลงโทษยึดใบขับขี่ 1 ปี สำหรับผู้ ประกอบอาชีพมอเตอร์ไซค์รับจ้างเป็นโทษที่หนักมากเมื่อเทียบกับโทษจำคุก 1 ปี แต่ศาลให้รอการลง อาญาโทษปรับสถานหนัก สำหรับผู้ประกอบอาชีพวิศวกร กับกรรมกรมีผลต่างกันมากระยะเวลา 3 เดือนสำหรับคนหนุ่มอายุ 25 ปี กับคนชราอายุ 85 ปี ก็มีความหมายต่างกันมาก จากข้อคิดดังกล่าวทำให้Jeremy Bentham วิเคราะห์ความได้สัดส่วน โดยการจัดกลุ่ม สภาวะ32ลักษณะ ที่อาจมีผลต่อความรู้สึกหนักเบาของโทษซึ่งอาจพิจารณาจากลักษณะทางสุขภาพ กายและจิตใจลักษณะทางวัฒนธรรม อุปนิสัย ระดับศีลธรรม การนับถือศาสนา ความมีมนุษย์สัมพันธ์ การงานอาชีพตามปกติฐานะทางเศรษฐกิจ เพศ อายุ พื้นเพเดิมทางครอบครัว ฐานะทางสังคม ระดับ การศึกษา ถิ่นที่อยู่ไปจนถึงระบอบการปกครองของบ้านเมือง มีผู้วิเคราะห์ต่อไปว่า เป็นเรื่องที่ยุติธรรมหากมีการลงโทษผู้กระทำความผิดสองคนที่มี ความชั่วระดับเดียวกันด้วยโทษอย่างเดียวกันโดยอ้างถึงหลักความได้สัดส่วนของการลงโทษ แต่จะไม่ ยุติธรรมที่จะเดินตามแนวทางนี้ ถ้าโดยบุคลิกภาพของผู้กระทำความผิดทั้งสองคนได้รับผลในเชิง ความรู้สึกต่อการลงโทษที่แตกต่างกัน เพราะการลงโทษที่เหมือนกันอาจส่งผลกระทบต่อบุคคลที่ถูก ลงโทษได้ในสัดส่วนที่ต่างกัน จากหลักการดังกล่าว ทำให้มีการปรับลดโทษปรับที่จะใช้กับผู้กระทำความผิ ดโดย พิจารณาจากสภาวะทางรายได้ของบุคคลนั้นรวมถึงการลดระยะเวลาในการจำคุกผู้กระทำความผิดที่มี
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3