การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
58 ช่วงเวลาในการดำรงชีวิตจำกัดเพราะการเป็นผู้ติดโรคร้ายแรงหรือเงื่อนไขในการควบคุมจะดำเนินไป ด้วยความยากลำบาก เช่น เป็นผู้กระทำความผิดที่ติดโรคเอดส์ (เศรษฐชัย อันสมศรี, 2547) 2.7.3 หลักการกำหนดโทษให้เหมาะสมกับตัวบุคคล มีแนวคิดที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่า การที่มนุษย์แต่ละคนกระทำความผิดนั้นเนื่องมาจาก บุคลิกลักษณะอุปนิสัยของผู้กระทำความผิด และพฤติการณ์ภายนอก เช่น สิ่งแวดล้อมรอบตัว ผู้กระทำความผิด ซึ่งอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการตัดสินใจของบุคคลในการ ที่จะกระทำความผิด ฉะนั้นบุคคลจะต้องปรับบุคลิกลักษณะของตนให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมอยู่เสมอ เพราะบุคลิกลักษณะของสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกนอยู่ตลอดเวลาแต่บุคคลแต่ ละคนยอมไม่สามารถปรับตนให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือสภาวะการณ์ต่าง ๆ ได้เหมือนกัน เพราะบุคคล แต่ละคนต่างมีบุคลิกลักษณะหรือสิ่งทีประกอบเข้าเป็นบุคลิกลักษณะแตกต่างกันไปด้วย ซึ่งอาจ เป็นไปในทางเข้ากับสังคมหรือเป็นปฏิปักษ์ต่อสังคม นักจิตวิทยาจึงเชื่อว่าลักษณะของความประพฤติ อันเป็นปฏิปักษ์ต่อสังคมมีปรากฏอยู่ในตัวของบุคคลทุกคน ซึ่งหมายความว่า บุคคลทุกคนมีความเอน เอียงไปในทางประกอบอาชญากรรม (ชาย เสวิกุล, 2517) ด้วยกันทั้งสิ้น สิ่งแวดล้อมจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการตัดสินใจของบุคคลให้กระทำความผิดโดย สิ่งแวดล้อมจะเป็นตัวกระตุ้นการตัดสินใจของบุคคลให้กระทำความผิด ไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีความคิดที่ จะกระทำความผิดอยู่ก่อนแล้วหรือไม่ก็ตาม ซึ่งที่ถูกต้องแล้วมนุษย์จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายและ ปฏิบัติตนให้ถูกกฎหมาย เช่น การตัดสินใจของบุคคลจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ อย่างเช่น สังคม จิตวิทยา วิทยาศาสตร์ เป็นต้น และการตัดสินใจของบุคคลเพื่อกระทำการใด ยอมขึ้นอยู่กับพื้นฐาน ทางจิตใจของแต่ละบุคคล ซึ่งแตกต่างกันไปของแต่ละบุคคล โดยสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยหนึ่งที่มา กระตุ้นให้คนกระทำความผิด ดังนั้น การกระทำความผิดของบุคคลจึงมีสิ่งแวดล้อมเข้ามาลักษณะที่ เปิดโอกาสให้บุคคลสามารถกลับเข้าสู่สังคมได้อีก กล่าวคือ ต้องมีคุณลักษณะเป็น“การกระทำเพื่อ สังคม” อีกประการหนึ่งด้วย การกำหนดโทษให้เหมาะสมกับตัวบุคคล หมายถึง การที่ศาลหรือองค์กรอื่นที่มีหน้าที่ ควบคุมดูแลนักโทษปรับใช้โทษให้เหมาะสมกับนักโทษแต่ละคนเพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูปรับปรุงแกไข และเพื่อให้ผู้กระทำผิดพร้อมที่จะกลับคืนสู่สังคมอย่างไม่มีปัญหา (ปกป้อง ศรีสนิท, 2550) โดยทั่วไปการคำนึงถึงลักษณะส่วนตัวของผู้กระทำความผิดอาญานั้น สามารถแบ่งได้เป็น 2 ช่วง ช่วงแรก คือ ก่อนการพิพากษาศาลจะเป็นผู้มีบทบาทในการกำหนดโทษและระยะเวลาในการ ลงโทษให้เหมาะสมกับจำเลย โดยพิจารณาถึงความหนักเบาของความผิดที่จำเลยได้กระทำเหตุ บรรเทาโทษต่าง ๆ และลักษณะส่วนตัวของจำเลย ช่วงทีสอง คือ ระหว่างการลงโทษระหว่างที่นักโทษต้องรับโทษอยู่ในเรือนจำการปรับใช้ โทษให้เหมาะสมกับนักโทษแต่ละคนได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางเพื่อวัตถุประสงค์ในการแก้ไขฟื้นฟู และปรับปรุงแก้ไขให้จำเลยพร้อมที่จะกลับเข้ามาใช้ชีวิตในสังคมต่อไป
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3