การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
59 ดังนั้น การกำหนดโทษทางอาญาจะต้องให้มีความเหมาะสม มีกฎหมายที่ใช้ในขณะ กระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิด โดยศาลจะต้องเลือกการบังคับใช้โทษให้เหมาะกับระดับความรุนแรง ของความผิดที่ได้กระทำพฤติกรรมการกระทำความผิดรวมถึงสภาพแวดล้อมอื่น ๆ ประกอบด้วย เพื่อให้การลงโทษที่จะลงนั้นได้สัดส่วนกับการกระทำของผู้กระทำความผิดทั้งโทษที่จะลงนั้นก็ต้อง เหมาะสมกับผู้กระทำความผิดแต่ละคน เพราะแม้พฤติการณ์กระทำความอย่างเดียวกันแต่ผู้กระทำ ความผิดเป็นคนละคนกัน จะลงโทษอย่างเดียวกันก็อาจไม่เหมาะสมและได้สัดส่วนในแต่ละคน เช่น ผู้กระทำความผิดคนหนึ่งมีฐานะดีอีกคนหนึ่งมีฐานะยากจนการลงโทษปรับในอัตราเท่ากันหรือ ผู้กระทำผิดอีกคนหนึ่งอายุเป็นบุคคลทั่วไปวัยหนุ่มสาว อีกคนหนึ่งเป็นผู้สูงอายุแก่ชราภาพ จึงอาจไม่ เหมาะสมกับตัวบุคคลได้ฉะนั้นการลงโทษที่เหมาะสมที่สุด คือ การพิจารณากำหนดโทษให้ได้สัดสวน และมีความเหมาะกับตัวผู้กระทำความผิดแต่ละคนไปจึงจะทำให้การลงโทษเป็นไปตามวัตถุประสงค์ อย่างแท้จริง (พรเทพ เอียดแก้ว, 2560) 2.8 แนวคิดสำหรับปัญหาด้านสุขภาพผู้สูงอายุ มนุษย์เมื่อสูงอายุขึ้น การทำงานหรือระบบของเนื้อเยื่อ อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายย่อมเสื่อมถอย ไม่แข็งแรงเหมือนในอดีต ปัญหาด้านสุขภาพของผู้สูงอายุเกิดขึ้นได้ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และทาง เศรษฐกิจ ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้โรคภัย และปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ สามารถแบ่งออก ได้เป็น 2 กลุ่ม (อุทัยวรรณ พงษ์บริบูรณ์, 2563) คือ กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มโรคโดยทั่ว ๆ ไปที่เกิดกับมนุษย์ทุกวัยได้แก่กลุ่มโรคไม่ติดต่อซึ่งองค์การอนามัย โลก(WHO)ให้ความสำคัญในการป้องกัน และต้องควบคุมอย่างเร่งด่วนประกอบด้วย 4 กลุ่มโรค กล่าวคือ 1.โรคหลอดเลือดสมอง และหัวใจ 2. โรคเบาหวาน 3. โรคมะเร็ง และ4. โรคปอดเรื้อรังโดย สถานการณ์ของโรคกลุ่มดังกล่าวนี้ได้เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุของไทยด้วยบางส่วนจากรายงานสถิติ สาธารณสุข พ.ศ.2550 - 2556 พบว่าโรคที่เกิดกับผู้สูงอายุไทยที่สำคัญได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองใหญ่อัมพฤกษ์อัมพาต และโรคเบาหวาน และมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2557, น. 130 - 150) กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มอาการที่เกิดเฉพาะกับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ (อุทัยวรรณ พงษ์บริบูรณ์, 2563) ดังนี้ 1. กลุ่มอาการสูญเสียความทรงจำ และสับสนซึ่งเป็นอาการเริ่มต้นของภาวะความจำเสื่อม ซึ่ง เกิดจากโรคอัลไซเมอร์ แต่สมองเสื่อมหรือความจำเสื่อมนั้นอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น เส้นเลือด สมองตีบ โรคต่อมไทรอยด์ เป็นต้น ผู้สูงอายุที่มีการสับสนและสูญเสียความทรงจำจะเรียนรู้หรือจดจำ สิ่งใหม่ยากยิ่งขึ้น มีอาการหลง ๆ ลืม ๆ ไม่ค่อยอยากเข้าสังคม พูดน้อย อารมณ์หรือนิสัยเปลี่ยนแปลง ไป โดยจากรายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557 (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2559) พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุจำนวน 7,356 คน มีภาวะสมอง เสื่อมคิดเป็นร้อยละ 8.1 ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3