การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

60 2. กลุ่มอาการภาวะกระดูกพรุน พบได้ในหญิงวัยหลังหมดประจำเดือน และชายอายุมากกว่า 70 ปีโดยจากการประชุมของมูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติในวันกระดูกพรุนโลกเมื่อปี 2012 ได้ นำเสนอสถานการณ์โรคกระดูกพรุนทั่วโลกที่พบว่ามีผู้ป่วยกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนถึงร้อยละ 0.8 (สุพัฒน์ ทัพหงษา,2557) 3. กลุ่มอาการหกล้ม ทรงตัว ปัญหาการเดินเป็นปัญหาสำคัญเนื่องจากผู้สูงอายุมีความเปราะบาง ของกระดูกเมื่อหกล้มก็อาจทำให้กระดูกหักได้ง่ายกว่าบุคคลทั่ว ๆ ไป และมีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ ง่ายซึ่งจากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย ครั้งที่ 5 พบว่า ผู้สูงอายุเกิดอุบัติเหตุหกล้มในช่วง 6 เดือนก่อนการสำรวจถึงร้อยละ 16.9 (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2559) 4. กลุ่มอาการนอนไม่หลับ หลับยาก อาการนอนไม่หลับจะส่งผลให้เกิดภาวะเสี่ยงได้ เช่น อารมณ์หงุดหงิดคุณภาพการนอนลดน้อยลง ตื่นบ่อย เมื่อตื่นมาแล้วร่างกายมีอาการไม่สดชื่น ทั้งนี้เกิด จากสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปตามวัย หรืออาจเกิดจากภาวะซึมเศร้าความเครียด ความวิตก กังวล เป็นต้นซึ่งจากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 พบว่ามีกลุ่ม ตัวอย่างผู้สูงอายุถึงร้อยละ 13.7 ที่ใช้ยาคลายเครียดหรือยานอนหลับเป็นประจำ (สถาบันวิจัยระบบ สาธารณสุข 2559, น. 120) 5. กลุ่มอาการปัญหาการกลั้นอุจจาระ และปัสสาวะเนื่องจากสภาพร่างกายในการลุกนั่งที่ลำบาก กว่าปกติซึ่งผลการสำรวจผู้สูงอายุในปี พ.ศ. 2560 จากจำนวนผู้สูงอายุ 11,312,447 คน พบว่า ผู้สูงอายุร้อยละ 17.7 มีปัญหาในการกลั้นปัสสาวะ และร้อยละ 13.5 มีปัญหาในการกลั้นอุจจาระ (สำนักงานสถิติแห่งชาติ 2561, น. 17) 6. กลุ่มอาการมึนงง วิงเวียนศีรษะเป็นปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุที่เป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่การ หกล้มได้โดยผู้สูงอายุร้อยละ 9.3 หกล้มโดยมีสาเหตุจากอาการวิงเวียนศีรษะ (สถาบันวิจั ยระบบส่า ธารณสุข,2559, น.260 - 263) นอกจากนี้ยังมีสาเหตุมาจากความดันโลหิตต่ำจากผลข้างเคียงของยา บางชนิด ภาวะน้ำในหูไม่เท่ากัน ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โลหิตจาง ความวิตกกังวล เป็นต้น 7. กลุ่มอาการปัญหาการรับประทานอาหารไม่ครบถ้วน เป็นความผิดปกติในการรับประทาน อาหาร มีปัจจัยสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหารได้ลดน้อยลงกว่าปกติ เช่น ปัญหาสุขภาพฟัน การกลืนลำบาก การเบื่ออาหาร ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา คือภาวะกระดูกพรุนกล้ามเนื้อลีบ แขนขาอ่อนแรง การติดเชื่อ เป็นต้น (ชวิศา แก้วอนันต์, 2561) 8. กลุ่มอาการปัญหาทางการได้ยิน หูหนัก ผู้สูงอายุมีความสามารถในการรับรู้เสียงต่าง ๆ ลดลง โดยมักมีอาการหูอื้อ หูตึง ซึ่งในช่วงระยะแรกจะรับรู้เสียงที่มีความถี่สูง ๆ หรือเสียงแหลม ๆ ได้ลดลง เช่น เสียงดนตรีคีย์ สูง ๆ หรือในสถานที่ที่มีเสียงรบกวน อาจไม่เข้าใจ หรือคุณภาพของการสื่อสารกับ ผู้อื่นเริ่มลดน้อยลงไป เป็นต้น ผลการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย ครั้งที่ 6 พ.ศ.2560 พบว่า ผู้สูงอายุร้อยละ 15.4 จากจำนวนผู้สูงอายุ 11,312,447 คน มีปัญหาการได้ยิน (สำนักงานสถิติ แห่งชาติ, 2561, น. 16)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3