การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

61 9. กลุ่มอาการปัญหาทางการมองเห็น สายตาฝ่าฝาง นอกจากจะเกิดจากอายุที่สูงขึ้นแล้วนั้น อาจยังเกิดจากโรคภัยต่าง ๆ ได้ เช่นต้อหิน ต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อม ทำให้การมองเห็นลดลง เป็นต้น โดยจากผลการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2560 จากจำนวน ผู้สูงอายุ 11,312,447 คน พบว่าผู้สูงอายุร้อยละ 48.6 มีปัญหาด้านการมองเห็นตั้งแต่ระดับที่ต้องใส่ แว่นตาจนถึงมองไม่เห็นเลย (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2561, น. 16) นอกจากปัญหาสุขภาพด้าน ร่างกายแล้ว ปัญหาด้านสุขภาพจิต และปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมก็มีความสำคัญ และเป็น ประเด็นที่จะละเลยไม่ได้ การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจเป็นปัญหาที่มีผลต่อเนื่องเชื่อมโยงมาจากการเปลี่ยนแปลงด้าน ร่างกาย และสังคม เพราะการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ ปัญหาการทำงานและ การทำหน้าที่ต่าง ๆ มีการสูญเสียอำนาจและการเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความเครียด ถ้าไม่สามารถปรับตัว ให้อยู่ในสังคมได้เมื่อมีวัยสูงขึ้น พฤติกรรมของผู้สูงอายุจะเปลี่ยนแปลงไป มีการ หลงลืม สับสนได้ง่าย ในวัย นี้จะต้องพบกับการสูญเสียในช่วงชีวิตส่งผลทำให้ภาวะจิตใจได้รับการ กระทบกระเทือน จิตใจหดหู่ตองอยู่แบบเหงา ๆ ซึ่งภาวะเช่นนี้ผู้สูงอายุจะท้อแท้มักมีอารมณ์ฉุนเฉียว โกรธง่ายสิ้นหวังซึ่งจะส่งผลให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายเสื่อมมากยิ่งขึ้น จากการสำรวจสุขภาพ ประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557 ( สถาบันวิจัยระบบส่าธารณสุข, 2559, น. 252-253) พบว่ากลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุร้อยละ 6.0 มีภาวะซึมเศร้า (อุทัยวรรณ พงษ์บริบูรณ์, 2563) โดยสรุปแล้วนั้นผู้สูงอายุคือกลุ่มบุคคลที่ส่วนใหญ่เต็มไปด้วยปัญหาด้านสุขภาพซึ่งหากพิจารณา กับเด็กและเยาวชนก็คงจะไม่ต่างกันมากในประเด็นของการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพภายใต้ของ เจตนารมณ์ที่คล้ายคลึงกันที่ว่าเด็กมีกระบวนการทางความคิดที่ยังไม่สามารถเทียบเท่าบุคคลทั่วไปได้ บางครั้งในการกระทำความผิดเกิดจากการที่ตัดใจผิดพลาดไปโดยการยั้งคิดซึ่งผู้สูงอายุก็เช่นเดียวกัน ในมุมของปัญหาสุขภาพที่เข้ามาแทรกซ้อนส่งผลต่อระบบประสาท สมอง หลง ๆ ลืม ๆ ในบางเรื่อง กระบวนการตัดสินใจ การยับยั้งความผิดที่อาจจะก่อให้เกิดการกระทำความผิดขึ้นได้ก็ลดน้อยลงไป ตามสภาพของอายุเช่นเดียวกัน 2.9 นโยบายที่เกี่ยวข้องเพื่อการพัฒนาผู้สูงอายุ 2.9.1 นโยบายต่างประเทศ 2.9.1.1 แผนปฏิบัติการระหว่างประเทศมาดริดว่าด้วยเรื่องผู้สูงอายุ (The Madrid International Plan of Action on Ageing) องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ได้จัดให้มีการจัดการประชุมสมัชชา ระดับโลกว่าด้วยผู้สูงอายุ ครั้งที่ 2 ณ กรุงมาดริดประเทศสเปน ในปี พ.ศ. 2545 ผลจากการประชุม คราวนั้นได้ก่อให้เกิดพันธกรณีระหว่างประเทศในเรื่องของผู้สูงอายุที่เรียกว่า แผนปฏิบัติการระหว่าง ประเทศมาดริดว่าด้วยเรื่องผู้สูงอายุโดยได้กำหนดเป้าหมายหลักของการพัฒนาผู้สูงอายุใน 3 ประเด็น ต่อไปนี้ คือ 1. ผู้สูงอายุกับการพัฒนา 2. สูงวัยอย่างสุขภาพดีและมีสุขภาวะ และ3. การสร้างความ มั่นใจว่าจะมีสภาพแวดล้อมที่เกื้อหนุนและเหมาะสม

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3