การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
69 เป้าหมายที่ 4 ทําให้แน่ใจถึงการได้รับการศึกษาที่ได้คุณภาพอย่างเท่าเทียมและ ทั่วถึง และส่งเสริมโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ทุกคน เป้าหมายที่ 5 บรรลุถึงความเท่าเทียมทางเพศ และเสริมสร้างพลังให้แก่สตรีและ เด็กหญิงทุกคน เป้าหมายที่ 6 ทําให้แน่ใจว่าเรื่องน้ำและการสุขาภิบาลได้รับการจัดการอย่าง ยั่งยืนและมีสภาพพร้อมใช้สําหรับทุกคน เป้าหมายที่ 7 ทําให้แน่ใจว่าทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงานที่ทันสมัย ยั่งยืนเชื่อถือ ได้ตามกําลังซื้อของตน เป้าหมายที่ 8 ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและทั่วถึงให้เป็นไป อย่างยั่งยืนส่งเสริมศักยภาพการมีงานทําและการจ้างงานเต็มที่ และงานที่มีคุณค่าสำหรับทุกคน เป้าหมายที่ 9 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการ ปรับตัวให้เป็นอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนและทั่วถึง และสนับสนุนนวัตกรรม เป้าหมายที่ 10 ลดความเหลื่อมล้ำทั้งภายในและระหว่างประเทศ เป้าหมายที่ 11 ทําให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ความปลอดภัยทั่วถึง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและยั่งยืน เป้าหมายที่ 12 ทําให้แน่ใจถึงการมีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 13 ดําเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ และผลกระทบที่เกิดขึ้น เป้าหมายที่ 14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทาง ทะเลสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้เป็นไปอย่างยั่งยืน เป้าหมายที่ 15 พิทักษ์ บูรณะ และส่งเสริมการใช้ประโยชน์ที่ยั่งยืนของระบบ นิเวศบนบก จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ต่อสู้กับการแปรสภาพเป็นทะเลทราย หยุดยั้งและฟื้นฟูความ เสื่อมโทรมของที่ดินและหยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ เป้าหมายที่ 16 ส่งเสริมให้สังคมมีความเป็นปกติสุข ไม่แบ่งแยก เพื่อการพัฒนาที่ ยั่งยืน มีการเข้าถึงความยุติธรรมโดยถ้วนหน้า และสร้างให้เกิดสถาบันอันเป็นที่พึ่งของส่วนรวมมี ประสิทธิผลและเป็นที่ยอมรับในทุกระดับ เป้าหมายที่ 17 เสริมสร้างความเข้มแข็งในวิธีการปฏิบัติให้เกิดผล และสร้างพลัง แห่งการเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือระดับสากลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ที่ต้องนำมา พิจารณาในการแปลงเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนสู่การปฏิบัติ คือ ความมั่นคงทางรายได้บริการ สุขภาพ การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือภัยพิบัติและควรเน้นการมี ส่วนร่วมของผู้สูงอายุ รวมทั้งทัศนคติเชิงบวกเกี่ยวการสูงวัยซึ่งจะมีผลต่อการวิเคราะห์ตัดสินใจในเรื่อง ต่างๆ เกี่ยวกับประเด็นผู้สูงอายุ ซึ่งจะสะท้อนแนวคิดที่จะไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง ของ SDGs ได้ อย่างอย่างชัดเจน (กรมกิจการผู้สูงอายุ, 2564)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3