การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
70 2.10 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ในการวิจัยเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในชั้นก่อนฟ้องคดีนั้นเพื่อให้งานวิจัยมีความ สมบูรณ์มากขึ้นผู้วิจัยจึงจำเป็นจะต้องศึกษากฎหมายทั้งในกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมาย ต่างประเทศเข้ามาวิเคราะห์ร่วมกับกฎหมายไทยซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ สิทธิเสรีภาพ และกระบวนการในชั้นก่อนฟ้องคดีอาญาของกฎหมายต่างประเทศว่ามีกระบวนการหรือวิธีการ สำหรับผู้ต้องหาสูงอายุอย่างไร ดังนี้ 2.10.1 กฎหมายระหว่างประเทศ 2.10.1.1 ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1948 (Universal Declaration of Human Rights 1948) (United Nations,2019) ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนได้บัญญัติหลักการที่เกี่ยวข้องกับการ คุ้มครองผู้สูงอายุในการดำเนินคดีอาญาไว้ดังนี้ กล่าวคือใน ข้อ 2 มุ่งเน้นความเสมอภาคและห้ามการ เลือกปฏิบัติ (Equality and non-discrimination) คือ การที่คนทุกคนควรได้รับการปฏิบัติอย่างเท่า ทียมกันในฐานะที่เป็นคน โดยที่ไม่ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ สีผิว เพศ อายุ ภาษา ศาสนา ฯ ข้อ 5 บุคคลใด จะถูกกระทำทรมาน หรือการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษย์ธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรีความ เป็นมนุษย์ไม่ได้ (กรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ, 2560) และข้อ 7 ทุกคนเสมอภาคกันตามกฎหมายและมี สิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองของกฎหมายเท่าเทียมกัน โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติใด รวมทั้งการ ตรวจสอบได้และใช้หลักนิติธรรม (Accountability and the rule of law) หมายถึง รัฐและองค์กรที่ มีหน้าที่และมาตรการปกครองประเทศโดยใช้หลักนิติธรรม ประชาชนเข้าถึงประบวนการยุติธรรมได้ และมีความเท่าเทียมกันทางกฎหมาย (UNDP, 2020) การคุ้มครอง บุคคลที่ถูกจับกุมและคุมขังที่บัญญัติรับรองไว้ในข้อ 9 บุคคล ใดจะถูกจับกุม กักขังหรือเนรเทศตามอำเภอใจไม่ได้และในข้อ 10 บัญญัติรับรองถึงความเสมอภาคใน การได้รับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรมและเปิดเผยจากศาลที่อิสระและไม่ลำเอียง บุคคลมีสิทธิที่จะ ได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่ามีความผิดตามกฎหมายในการพิจารณาคดี ที่เปิดเผย และการห้ามมิให้มีการบังคับใช้กฎหมายอาญาย้อนหลังที่บัญญัติรับรองไว้ในข้อ 11 รวมทั้ง สิทธิที่จะได้รับการเยียวยาอันเกิดจากการล่วงละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ตามที่บัญญัติไว้ในข้อ 8 จะเห็นได้ว่าปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ.1948 ซึ่งเป็นกฎหมาย ระหว่างประเทศนั้นได้กำหนดหลักการในการคุ้มครองผู้สูงอายุในการดำเนินคดีอาญาไว้ใน ข้อที่ 2 ข้อ ที่ 5 และข้อที่ 7 ไม่ว่าจะเป็นหลักความเสมอภาค ความเท่าเทียม รวมไปถึง เชื้อชาติ อายุ เพศ ซึ่งเป็น องค์ประกอบพื้นฐานของมนุษย์ คนทุกคนมีความเท่าเทียมกันภาย ใต้กฎหมายเดียวกัน ซึ่งก็จะ สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญของประเทศไทยด้วยจึงจำเป็นที่จะต้องให้การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพแม้จะ เป็นผู้ต้องหาก็ตามอีกทั้งเมื่อเป็นผู้สูงอายุ จำเป็นที่จะต้องพิจารณาเป็นพิเศษนั้นเอง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3