การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

71 2.10.1.2 กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil, and Political Rights : ICCPR) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองมี สาระสำคัญที่เกี่ยวกับผู้ต้องหาหรือจำเลย ซึ่งบัญญัติรับรองไว้โดยมุ่งเน้นความเสมอภาคและห้ามการ เลือกปฏิบัติ รัฐภาคีรับรองจะเคารพและประกันสิทธิของ บุคคลในส่วนของการพิจารณาคดีอาญานั้น ในข้อ 14 วางหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคดีไว้ กล่าวคือ บุคคลทุกคนย่อมเสมอกันในการพิจารณาคดี ของศาล มีสิทธิได้รับการพิจารณาอย่างเปิดเผยและเป็นธรรม บุคคลทุกคนซึ่งต้องหาว่ากระทำผิดอาญา ต้องมีสิทธิได้รับการสันนิษฐานว่า เป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ตามกฎหมายได้ว่ามีความผิด และในการพิจารณาคดีอาญาบุคคลทุกคน ซึ่งต้องหาว่ากระทำผิดยอมมีสิทธิที่จะได้รับหลักประกันขั้นต่ำโดยเสมอภาคและเมื่อบุคคลที่ต้องคำ พิพากษาลงโทษในความผิดอาญาย่อมมีสิทธิที่จะให้คณะตุลาการระดับเหนือขึ้นไป พิจารณาทบทวน การลงโทษและคำพิพากษาโดยเป็นไปตามกฎหมาย และหากมีการดำเนินกระบวนการยุติธรรมที่มิ ชอบบุคคลที่ได้รับความทุกข์ นั้นเนื่องมาจากการลงโทษตามผลของคำพิพากษาลงโทษ ต้องได้รับ การชดเชยตามกฎหมายรวมทั้งการห้ามมิให้มีการบังคับใช้กฎหมายอาญาย้อนหลังตามที่กำหนดในข้อ 15 (International Covenant on Civil and Political Rights – ICCPR) ต่อมาเมื่อพิจารณาดูในส่วนของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง ทั้งในข้อ 14 และ 15 นั้น ก็ปรากฏว่าก็จะมีในส่วนของความเท่าเทียมความ เสมอภาคได้กำหนดไว้อยู่ แต่มีประการที่น่าสนใจกล่าวคือ หลักการพิจารณาโดยเปิดเผย หลักให้ สันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะได้มีการพิสูจน์ตามกฎหมายซึ่งก็ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญของ ประเทศและกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาด้วยเป็นหลักที่แสดงให้เห็นว่ารัฐควรกับบุคคลที่เป็น ผู้ต้องหานั้นอย่างนิ่มนวล และอย่างถูกต้อง จนกว่าจะได้พิสูจน์ตามกฎหมายโดยจะเอาความรู้สึก ส่วนตัวเข้ามาในการตัดสินไม่ได้ 2.10.1.3 สิทธิของผู้สูงอายุตามหลักการขององค์การสหประชาชาติ (UN Principles for Older Persons 1991) องค์การสหประชาชาติได้รับรองหลักการ18 ประการสำหรับผู้สูงอายุ ใน วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ซึ่งมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้สูงอายุใน การดำเนินคดีอาญา เรื่องสิทธิการเข้าถึงบริการด้านการดูแลสุขภาพ การได้รับบริการทางด้านสังคมและกฎหมายรวมทั้ง สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่กำหนดไว้ดังนี้ (1) ผู้สูงอายุพึงมีสิทธิเข้าถึงบริการด้านการดูแลสุขภาพ เพื่อช่วยให้สามารถ และคงไว้หรือฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ ให้อยู่ในระดับที่สมบูรณ์ที่สุด และ เพื่อช่วยป้องกัน หรือชะลอการเกิดภาวะเจ็บป่วยอีกด้วย (ข้อ 11) (2) ผู้สูงอายุพึงมีสิทธิได้รับบริการทางด้านสังคมและกฎหมาย เพื่อส่งเสริม อิสรภาพในการดำเนินชีวิตการปกป้องคุ้มครองและการอุปการะเลี้ยงดู(ข้อ 12)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3