การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
72 (3) ผู้สูงอายุพึงมีสิทธิมนุษยชนทั้งปวงและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ในขณะที่อยู่ ในสถานที่ใด ๆ หือในสถานที่ให้บริการดูแลรักษา รวมทั้งพึงได้รับการยอมรับในศักดิ์ศรี ความเชื่อ ความต้องการและความเป็นส่วนตัว ตลอดจนสิทธิในการตัดสินใจเกี่ยวกับการอุปการะเลี้ยงดูและ คุณภาพชีวิตของตนเอง (ข้อ 14) ผู้สูงอายุพึงมีสิทธิที่จะดำรงชีวิตอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี และมีความมั่นคง ปลอดภัยปราศจากการถูกแสวงหาผลประโยชน์ ตลอดจนการปฏิบัติอย่างทารุณ ทั้งทางร่างกายและ จิตใจ (ข้อ 17) (5) ผู้สูงอายุพึงได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมโดยไม่คำนึงถึงความแตกต่าง ทางวัย เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ภูมิหลัง ศาสนา ความพิการ ฐานะทางเศรษฐกิจ หรือสถานภาพอื่นใด (ข้อ 18) จะเห็นได้ว่า แม้ว่ากฎหมายระหว่างประเทศมิได้บัญญัติถึงสิทธิของผู้สูงอายุ ไว้โดยตรง แต่องค์การสหประชาชาติก็เล็งเห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงของโลกและให้ ความสำคัญของผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น จึงได้กำหนดหลักเกณฑ์ รับรองสิทธิผู้สูงอายุไว้ในภาพรวม และ รวมถึงการได้รับบริการทางด้านสังคมและกฎหมายด้วยโดยเฉพาะในเรื่องของความเท่าเทียม สิทธิ เสรีภาพความเป็นมนุษย์โดยไม่ถูกแบ่งแยกด้วยความแตกต่างทางอายุ (UNDP, 2020) 2.10.2 กฎหมายต่างประเทศ 2.10.2.1 ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศสหรัฐอเมริกานั้นมีโครงสร้างอำนาจของระบบสอบสวนคดีอาญา ตามหลักแนวคิดอำนาจสอบสวนฟ้องร้องเป็นกระบวนการเดียวกัน พนักงานอัยการและตำรวจ สหรัฐอเมริกามีอำนาจสอบสวนคดีอาญากระบวนการสอบสวนคดีอาญาของสหรัฐอเมริกามีลักษณะ เป็นทีมสืบสวน สอบสวน ร่วมกับหน่วยนิติวิทยาศาสตร์ เมื่อมีความผิดอาญาเกิดขึ้นผู้เสียหาย สามารถแจ้งหรือรายงานเหตุคดีโดยตรงต่อตำรวจหรือพนักงานอัยการก็ได้ ตำรวจและทีมสืบสวน สอบสวนจะร่วมกันสืบสวนสอบสวน ตรวจสถานที่เกิดเหตุ รวบรวมพยานหลักฐาน โดยตำรวจมีหน้าที่ สอบปากคำพยานผู้อยู่ในเหตุการณ์และทำการสอบสวนเบื้องต้นแล้ว ส่งสำนวนความไปให้พนักงาน อัยการเป็นผู้รับผิดชอบการสอบสวน พนักงานอัยการมอำนาจรวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิดประเภท ภายใต้ดุลพินิจของศาลโดยมีตำรวจเป็นผู้ช่วยเหลือกระบวนการสอบสวนของประเทศสหรัฐอเมริกา แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1.ขั้นตอนการสอบสวนเบื้องต้น คือการเก็บพยานหลักฐาน ณ ที่เกิด เหตุ 2.ขั้นตอนการสอบสวนต่อเนื่อง คือการรวบรวมพยานหลักฐาน และ3.ขั้นตอนการเตรียมคดี คือ การประเมินพยานหลักฐานส่งพนักงานอัยการสำหรับผู้ต้องสงสัยตำรวจมีอำนาจติดตามตัวมาให้ ถ้อยคำได้กรณีตำรวจเห็นว่าคดีมีมูลเพียงพอและผู้ต้องสงสัยไม่ให้ความร่วมมือในการให้ถ้อยคำตำรวจ สามารถร้องขอให้ได้มาซึ่งหมายจับแต่ต้องนำรายงานแห่งคดีไปพบพนักงานอัยการเพื่อพิจารณาหาก พนักงานอัยการเห็นว่าคดีมีมูลเหตุและพยานหลักฐานเพียงพอ พนักงานอัยการจะลงชื่อรับรองคำร้อง ขอหมายจับก่อนตำรวจจึงจะนำหมายจับไปยื่นต่อศาลท้องถิ่นเพื่อพิจารณาอนุมัติหมายจับ ตำรวจจะ ดำเนินการติดตามจับผู้ต้องหาตามหมายจับ และทำการสืบสวนสอบสวนพร้อมกับทำรายงานสอบสวน โดยไม่ต้องทำความเห็นควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องเสนอต่อพนักงานอัยการหากพนักงานอัยการเห็นว่า พยานหลักฐานในสำนวนไม่เพียงพอพนักงานอัยการมีดุลพินิจปฏิเสธการฟ้องคดีต่อศาลโดยไม่นำคดี
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3