การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

74 กระทำความผิด ความร้ายแรงของการกระทำความผิด การกระทำความผิดในครั้งปัจจุบัน หรือปัจจัย ที่เป็นเหตุบรรเทาโทษ การที่ผู้กระทำผิดสูงอายุได้รับการลงโทษที่ผ่อนปรนเนื่องจากผู้สูงอายุเป็น ภัยต่อสังคมน้อยกว่าด้วยเหตุผล 3 ประการได้แก่ 1) ผู้สูงอายุมีความน่าจะเป็นที่จะกระทำความผิดซ้ำ ได้น้อยกว่าผู้กระทำความผิดที่อายุน้อยกว่า 2) ผู้สูงอายุมีความเปราะบางหรือมีปัญหาสุขภาพ ที่ทำให้ ผู้พิพากษาเห็นว่าเป็นผู้ไม่มีความสามารถ ทำให้มีความเสี่ยงต่ำที่จะกระทำอันตรายต่อสังคม และ3) จำเลยที่เป็นผู้สูงอายุมักจะกระทำความผิดต่อทรัพย์ที่ไม่รุนแรง ส่วนข้อจำกัดความแตกต่างของ ผู้สูงอายุกับวัยอื่น ๆ กล่าวคือ จำเลยที่ยังหนุ่มสาวย่อมมีสุขภาพแข็งแรง แต่ผู้สูงอายุสุขภาพไม่ แข็งแรงและเปราะบาง จำเลยสูงอายุประมาณร้อยละ 85 มีโรคประจำตัวหลายโรค นอกจากนี้ ผู้ต้องขังสูงอายุมักเป็นเหยื่อทางจิตใจ ทรัพย์ ร่างกาย และทางเพศ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นข้อเท็จจริงที่ทำ ให้ผู้พิพากษาลดโทษให้กับผู้กระทำความผิดที่เป็นผู้สูงอายุ นอกจากนี้ ผู้กระทำความผิดที่เป็นผู้สูงอายุ ทั้งเพศชายและเพศหญิง จะได้รับโทษที่เบาลงเมื่อเทียบกับผู้ที่มีอายุน้อยกว่า ศาลมักตัดสินลงโทษ ผู้กระทำความผิดที่เป็นผู้สูงอายุต่ำกว่าโทษที่ควรได้รับปกติ (Smith MS, Schriver JL,2018) กระบวนการในชั้นการบังคับโทษนั้น ประเทศสหรัฐอเมริกามีกฎหมายที่ เรียกว่า “First Step Act of 2018” (FSA) โดยที่กฎหมายนี้มุ่งเน้นการลดประชากรในเรือนจำใน ขณะที่ยังคงรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม(The First Step Act of 2018,2019) โดยมีโปรแกรม นำร่องให้อำนาจหน่วยงานราชทัณฑ์ (The Bureau of Prisons : BOP) ในการกำหนดให้ผู้ต้องขังที่มี อายุอย่างน้อย 60 ปีและเป็นผู้ต้องขังที่ป่วยโดยการเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการกักขังอยู่ที่บ้านแทน ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 603(a) ประกอบ United States Code (Title 34. CRIME CONTROL AND LAW ENFORCEMENT) มาตรา 60541 (Federal prisoner reentry initiative) ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าเมื่อพิจารณากระบวนการสอบสวนหรือกระบวนการก่อน ฟ้องคดีของประเทศสหรัฐอเมริกาแล้วนั้นพบว่าได้กำหนดให้ตัวของพนักงานสอบสวนหรือเจ้าหน้าที่มี ความรู้เกี่ยวกับผู้สูงอายุแนวคิดทฤษฎีโดยผ่านการอบรมรวมไปถึงการพิจารณาประเภทความผิดที่ ผู้สูงอายุได้กระทำขึ้นและกำหนดโทษให้สอดคล้องกับการกระทำผิดนั้น ๆ ซึ่งเป็นกระบวนการหันเห คดีออกจากกระบวนการยุติธรรมในกระแสหลักเพราะด้วยเหตุผลหลาย ๆ ประการที่ผู้สูงอายุมี เช่น โรคประจำตัว เป็นต้น 2) ประชากรสูงอายุ ปัจจุบัน 16.5% ของประชากรสหรัฐ 328 ล้านคนหรือ 54 ล้านคน มีอายุ เกิน 65 ปี การสำรวจสำมะโนประชากรล่าสุดแสดงให้เห็น ภายในปี 2030 จำนวนดังกล่าวจะเพิ่มขึ้น เป็น 74 ล้านคน จำนวนผู้ที่มีอายุมากกว่า 85 ปี ซึ่งโดยทั่วไปต้องการการดูแลมากที่สุด กำลังเพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็ว(สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ) 2.10.2.2 ประเทศญี่ปุ่น ประเทศญี่ปุ่นนั้นได้มีโครงสร้างอำนาจของระบบสอบสวนคดีอาญาตามหลัก แนวคิดอำนาจสอบสวนฟ้องร้องเป็นกระบวนการเดียวกัน พนักงานอัยการตำรวจ และเจ้าพนักงาน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3