การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

76 พิจารณาในการชะลอการฟ้องได้ คือ บุคลิกลักษณะ อายุ และสภาพแวดล้อมของผู้กระทำความผิด ความร้ายแรงของการกระทำ และเหตุการณ์ต่าง ๆ ภายหลังการกระทำความผิด พนักงานอัยการ สามารถใช้ดุลพินิจในการชะลอการฟ้องกรณีที่เป็นผู้ต้องหาสูงอายุ เพร าะนโยบายทางอาญาใน ประเทศญี่ปุ่น ถือว่าผู้สูงอายุมีโอกาสที่จะไปกระทำผิดซ้ำได้น้อยเมื่อเปรียบเทียบกับวัยอื่น (Criminal Justice in Japan 2019) 2) ประชากรสูงอายุ ญี่ปุ่นเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นสังคมคนชรา มีสัดส่วนจำนวนประชากรสูงอายุ ต่อประชากรทั้งหมดในประเทศมากที่สุดในโลก (ตามมาด้วยอิตาลีและโปรตุเกสตามลำดับ) รัฐบาล ญี่ปุ่นเพิ่งประกาศจำนวนประชากรอายุมากกว่า 65 ปี ประจำปีนี้ว่าทะลุ 36.17 ล้านราย เพิ่มขึ้นจาก ปีที่แล้วมากกว่า 300,000 คน ประชากรผู้สูงอายุคิดเป็น 28.7% ของประชากรทั้งหมด เมื่อสัปดาห์ก่อนโดยกระทรวงสาธารณสุขและแรงงานญี่ปุ่นเปิดเผยข้อมูล อีกว่าประชากรญี่ปุ่นที่มีอายุ 100 ปี ขึ้นไปทะลุ 80,000 ราย เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ตอกย้ำ ปัญหาสังคมผู้สูงอายุ ปีนี้ประชากรอายุ 100+ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วถึง 9 ,176 คน ทำให้ตัวเลขรวม ประชากรอายุเกิน 100 ปีมีมากถึง 80,450 คน และเพิ่มขึ้นทุกปีแบบนี้มาเป็นปีที่ 50 พอดี โดย สัดส่วนผู้หญิงคิดเป็น 88.2% ของประชากรอายุมากกว่า 100 ทั้งหมด (เป็นผู้หญิง 70,975 คน ผู้ชาย 9,475 คน)( Japan List,2563) 2.10.2.3 ประเทศเยอรมนี ประเทศเยอรมนีนั้นได้มีโครงสร้างอำนาจของระบบสอบสวนคดีอาญาตาม หลักแนวคิดอำนาจสอบสวนฟ้องร้องเป็นกระบวนการเดียวกัน และเนื่องจากกระบวนการยุติธรรม ทางอาญาของประเทศเยอรมนีได้รับอิทธิพลจากประเทศฝรั่งเศส พนักงานอัยการตำรวจ และผู้ พิพากษาไต่สวน จึงมีอำนาจสอบสวนเช่นเดียวกับประเทศฝรั่งเศส ตำรวจเยอรมนีมีอำนาจสอบสวน เริ่มต้นคดีด้วยตนเองแต่การสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานของตำรวจเป็นไปในลักษณะการเป็นผู้ ช่วยเหลือและเป็นเครื่องมือของพนักงานอัยการในการแสวงหาพยานหลักฐานในคดีเท่านั้น ตำรวจ เยอรมนีมีฐานะเป็นเพียง“องค์กรที่ทำหน้าที่สอบสวนของอัยการ” ( คณิต ณ นคร , 2545) พนักงาน อัยการเยอรมนีเป็นผู้รับผิดชอบการสอบสวนและการดำเนินคดีอาญา เมื่อมีความผิดอาญาเกิดขึ้น ตำรวจจะต้องเข้าสอบสวนตรวจสถานที่เกิดเหตุก่อนแล้วแจ้งเหตุอาชญากรรมต่อสำนักงานอัยการ ท้องที่เกิดเหตุทันทีจากนั้นตำรวจต้องส่งเอกสารการสอบสวนในคดีอาญาทุกเรื่องไปให้พนักงาน อัยการทันทีที่มีการสอบสวนความผิดอาญา (Code of Criminal Procedure as published on 7 April 1987,2562) พนักงานอัยการมีอำนาจพิจารณาว่าจะสอบสวนด้วยตนเองหรือมอบให้ตำรวจเป็น ผู้สอบสวนแทนก็ได้ แต่โดยทั่วไปพนักงานอัยการจะให้ตำรวจทำการสอบสวนในนามของอัยการการ สอบสวนคดีอาญาใดที่ดำเนินการก่อนหน้าตำรวจมีหน้าที่ต้องส่งสำนวนคดีให้พนักงานอัยการโดยไม่ ชักช้าเช่นกัน อำนาจสอบสวน อำนาจการรับคำร้องทุกข์ การเริ่มคดี การดำเนินคดีต่อไปและการ วินิจฉัยสั่งคดีเป็นอำนาจเด็ดขาดของพนักงานอัยการเยอรมนี 40 ในส่วนของรายได้ตำรวจเยอรมนีมี

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3