การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

77 รายได้คิดเป็นอัตราร้อยละ 54.90 ของรายได้พนักงานอัยการและปรับเพิ่มเงินรายได้ตามระยะเวลา และประสบการณ์ทำงาน (คณิต ณ นคร,2540) 1) การบังคับใช้กฎหมาย หรือจำเลยเป็นผู้สูงอายุในประเทศเยอรมนีแบ่งออกเป็น กระบวนการ ก่อนชั้นพิจารณาคดีของศาลและกระบวนการในชั้นการพิจารณาคดีของศาล ดังนี้ กระบวนการในชั้นก่อนฟ้องคดี กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของประเทศเยอรมนีได้วางหลักการ ต่อสู้คดีของผู้ถูกกล่าวหาไว้ โดยผู้ถูกกล่าวหาจะต้องมีความเข้าใจในการต่อสู้คดี ซึ่งคำนึงถึงความ บกพร่องทางกายของผู้ต้องหา ดังนี้ มาตรา 136a กำหนดข้อห้ามในการสอบสวน ดังนี้ (1) เสรีภาพของผู้ต้องหาในการตัดสินใจและแสดงเจตจำนงจะต้องไม่ถูก ลดทอนจากความเจ็บป่วย ความเหนื่อยล้า การแทรกแซงทางร่างกาย การใช้ยา การท ารุณ การ หลอกลวงหรือการสะกดจิต ส่วนการบังคับจะใช้ได้เท่าที่กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอนุญาต เท่านั้น นอกจากนี้ยังห้ามขู่เข็ญผู้ต้องหาด้วยมาตรการที่ไม่ได้รับอนุญาตภายใต้บทบัญญัติของ กฎหมายและการใช้โอการแสวงหาประโยชน์ซึ่งกฎหมายมิได้บัญญัติไว้จะกระทำมิได้เช่นกัน (2) ไม่อนุญาตให้ใช้มาตรการที่ทำให้ความจำของผู้ต้องหา หรือ ความสามารถในการทำความเข้าใจของผู้ต้องหาสูญเสียไป (3) ข้อห้ามภายใต้อนุมาตรา(1) และ(2) จะใช้บังคับโดยไม่ต้องคำนึงถึง ความยินยอมของผู้ต้องหา ในขณะที่ข้อความที่ได้จากการฝ่าฝืนข้อห้ามนี้จะไม่ถูกนำมาใช้ แม้ว่า ผู้ต้องหาจะยินยอมให้ใช้ก็ตาม กรณีที่ผู้ต้องหามีความบกพร่องทางร่างกาย กฎหมายวางหลักปฏิบัติใน การจัดหาทนายความไว้ในมาตรา 140(1) ดังนี้ จำเลยจะต้องมีทนายความในกรณีต่อไปนี้ 1 . การพิจารณาคดีหลักในครั้งแรกที่ศาลสูงมลรัฐ ( the Higher Regional Court) หรือที่ศาลมลรัฐ (the Regional Court) 2. ผู้ต้องหาถูกตั้งข้อหาความผิดอาญาร้ายแรง (serious criminal offence) 3. การดำเนินการอาจส่งผลให้มีการออกคำสั่งห้ามไม่ให้ประกอบอาชีพ 4. คำสั่งควบคุมตัวภายใต้มาตรา 112 หรือมาตรา 112 a หรือการ ควบคุมตัวชั่วคราวภายใต้มาตรา 126a หรือมาตรา 275a(6) ให้ใช้บังคับกับผู้ต้องหา 5. ผู้ต้องหาอยู่ในโรงพยาบาลเป็นเวลาอย่างน้อยสามเดือนตามคำสั่งศาล หรือโดยความเห็นชอบของผู้พิพากษา และจะไม่ได้รับการปล่อยตัวจากโรงพยาบาลนั้นอย่างน้อยสอง สัปดาห์ ก่อนที่ศาลจะเริ่มพิจารณาคดีหลัก 6. การกระทำความผิดของผู้ต้องหาตามมาตรา 81 อยู่ระหว่างการ พิจารณาเพื่อเตรียมให้ความเห็นเกี่ยวกับสภาพจิตใจของผู้ต้องหา 7. กระบวนการพิจารณาเพื่อป้องกันการถูกควบคุมตัว

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3