การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
78 8. ทนายความคนก่อนถูกตัดออกจากการมีส่วนร่วมในการดำเนินคดีโดย คำตัดสินของศาล 9. ทนายความที่ได้รับมอบหมายให้เป็นทนายความฝ่ายจำเลยตาม มาตรา 397a และมาตรา 406h (3) และ(4) มาตรา 140(2) สำหรับกรณีอื่น ถ้ามีความจำเป็นที่จะต้องให้ความ ช่วยเหลืออันเนื่องมาจากความร้ายแรงของการกระทำความผิดหรือความยากของข้อเท็จจริงหรือข้อ กฎหมายหรือมีหลักฐานที่แสดงได้ว่าผู้ต้องหาไม่สามารถที่จะต่อสู้ได้ด้วยตนเอง ผู้พิพากษาที่เป็นองค์ คณะจะแต่งตั้งทนายความฝ่ายจำเลย หรือผู้ที่มีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือร่วมทั้งการยื่นคำร้องโดย ผู้ต้องหาที่มีความบกพร่องทางการพูดหรือทางการได้ยิน (อมรวดี จำปาศรี, 2553) นอกจากนี้กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 153a(1) วาง หลักการไม่ดำเนินคดีภายใต้การกำหนดเงื่อนไขและคำสั่ง กล่าวคือในคดีความผิดอาญาไม่ร้ายแรง สำนักงานอัยการโดยความยินยอมของผู้ต้องหาและศาลที่มีอำนาจสั่งให้เปิดกระบวนพิจารณาหลัก กรณีที่เป็นข้อหาสาธารณะพนักงานอัยการอาจสั่งไม่ฟ้องและกำหนดเงื่อนไขพร้อมกับออกคำสั่งให้กับ ผู้ต้องหาได้หากการดำเนินคดีอาญามีลักษณะที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะและระดับของความผิด ไม่กระทบต่อสาธารณะอาจพิจารณากำหนดเงื่อนไขและออกคำสั่ง เช่น การให้ผู้ต้องหาเข้าร่วม หลักสูตรฝึกทักษะทางสังคม การให้บริการตามที่กำหนดเพื่อชดเชยความเสียหายที่เกิดจากการกระทำ ความผิด การชำระเงินให้กับสถาบันที่ไม่แสวงผลกำไรหรือให้กับกระทรวงการคลัง (THE GERMAN CODE OF CRIMINAL PROCEDURE) ในเรื่องของผู้กระทำความผิดที่เป็นผู้วิกลจริต นั้น ประมวลกฎหมาย อาญาของประเทศเยอรมนี (German Criminal Code) บัญญัติเป็นหลักการไว้ว่า ผู้กระทำไม่มี ความผิด หากกระทำไปด้วยเหตุตามที่มาตรา 20 กำหนด กล่าวคือ ผู้ใดกระทำความผิดในขณะที่ไม่รู้ ว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดเพราะโรคจิต (pathological mental disorder) ความผิดปกติของ สติสัมปชัญญะ (disturbance of consciousness) มีจิตบกพร่อง (mental deficiency) หรือมี ความผิดปกติทางจิตอย่างรุนแรง (serious mental abnormality) ให้ถือว่าผู้นั้นไม่มีความผิด ( German Criminal Code Section 2 0 Lack of criminal responsibility due to mental illness) และในมาตรา 21 กรณีที่ผู้กระทำความผิดยังสามารถรู้ว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด แต่ กระทำไปด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งตามที่กำหนดในมาตรา 20 กฎหมายจึงกำหนดให้เป็นเหตุบรรเทาโทษ (German Criminal Code Section 21 Diminished responsibility) เมื่อพิจารณากฎหมายของประเทศเยอรมนีแล้วนั้น พบว่า กฎหมายมีได้ กำหนดกระบวนการของผู้สูงอายุไว้โดยเฉพาะแต่ได้กำหนดเรื่องของบุคคลที่ก่อกรกระทำความผิดที่มี สภาพจิตบกพร่อง เป็นผู้วิกลจริต ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะเทียบเคียงอาการคล้ายคลึงของผู้ต้องหาที่สูงอายุ ได้ในกรณีที่กระทำความผิดในขณะที่ความจำเสื่อมหรือหลงผิดพรั่งเผลอไปด้วยเหตุผลของความชรา ภาพทางร่างกายและจิตใจ อีกทั้งในชั้นก่อนฟ้องคดีของประเทศเยอรมนียังมีส่วนคล้ายกันของ ประเทศญี่ปุ่นที่ว่า หากเป็นความผิดอาญาที่ไม่ร้ายแรงพนักงานอัยการอาจจะเบี่ยงเบนคดีออกจาก กระบวนการยุติธรรมกระแสหลักเพื่อลงโทษผู้สูงอายุให้เหมาะสมตามสภาพของวัยนั้นเอง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3