การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
79 2) ประชากรสูงอายุ เยอรมนี มีประชากร 79,903,481 คน (ก.ค. 2564) เยอรมนี 86.3% ตุรกี 1.8% โปแลนด์ 1% ซีเรีย 1% โรมาเนีย 1% และอื่น ๆ 8.9% อัตราส่วนประชากรจำแนก ตามอายุ : วัยเด็ก (0 - 14 ปี) 12.89% วัยรุ่นถึงวัยกลางคน (15-64 ปี) 64.13% และวัยชรา (65 ปี ขึ้นไป) 22.99% อัตราการเกิด 8.63 คนต่อประชากร 1,000 คน อัตราการตาย12.22 คน ต่อ ประชากร 1,000คนอายุขัยเฉลี่ยของประชากร 81.3 ปี เพศชาย 78.93 ปี เพศหญิง 83.8 ปี ( สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany) , 2564) 2.10.3 กฎหมายภายในของประเทศไทย 2.10.3.1 สิทธิเสรีภาพผู้สูงอายุภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 สิทธิ (Right) หมายถึง อำนาจที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองให้แก่บุคคลใน อันที่กระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อประโยชน์แห่งตน และโดยเหตุที่บุคคลผู้ ทรงสิทธิสามารถเรียกร้องให้บุคคลอื่นกระทำหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้เป็นไป ตามสิทธิของตนได้ รวมถึงมีหน้าที่ที่จะไม่รบกวนต่อสิทธิหรือหน้าที่ที่จะกระทำการ หรืองดเว้นกระทำ การอย่างใดอย่างหนึ่งให้เป็นไปตามสิทธิ ทั้งนี้ แล้วแต่ประเภทของสิทธินั้น ๆ ด้วย (หยุด แสงอุทัย, 2535) เสรีภาพ (Liberty) หมายถึง สภาวะที่บุคคลมีอิสระในอันที่กระทำการหรืองด เว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งตามความปรารถนาของตนโดยไม่ถูกแทรกแซงหรือครอบงำจาก บุคคลอื่น ทั้งนี้บุคคลย่อมมีเสรีภาพตราบเท่าที่ไม่ถูกบังคับให้กระทำการในสิ่งที่ตนไม่ต้องการหรือไม่ ถูกหน่วงเหนี่ยวขัดขวางไม่ให้กระทำการในสิ่งที่ตนต้องการ ด้วยเหตุนี้บุคคลย่อมเลือกวิถีชีวิตได้ด้วย ตนเอง เสรีภาพจึงเป็นอำนาจที่บุคคลมีอยู่เหนือตนเองและไม่ก่อให้เกิดหน้าที่ต่อบุคคลอื่นแต่อย่างใด (บรรเจิด สิงคะเนติ, 2552) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มีบทบัญญัติที่บรรจุ หลักการที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ จำนวน 2 หมวด ดังนี้ หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตรา 27 วรรคสาม การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ไม่ว่าด้วยเหตุ ความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะภาพของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนาการศึกษาอบรม หรือความ คิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือเหตุอื่นใด จะกระทำมิได้ วรรคสี่ มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคล สามารถใช้สิทธิหรือเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น หรือเพื่อคุ้มครองความสะดวกให้แก่ เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ หรือผู้ด้อยโอกาส ย่อมไม่ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ มาตรา 48 วรรคสอง บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีและไม่มีรายได้เพียงพอแก่ การยังชีพ และบุคคลผู้ยากไร้ย่อมมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐตามที่กฎหมายบัญญัติ หมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ มาตรา 71 วรรคสาม รัฐพึงให้ความช่วยเหลือเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุคน พิการ ผู้ยากไร้ และผู้ด้อยโอกาสให้สามารถดำรงชีพได้อย่างมีคุณภาพ และคุ้มครองป้องกัน มิให้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3