การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
80 บุคคลดังกล่าวถูกใช้ความรุนแรงหรือปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม รวมตลอดทั้งให้การบำบัด ฟื้นฟู และ เยียวยาผู้ถูกกระทำการดังกล่าว ( กรมกิจการผู้สูงอายุ , 2564) หมวด 16 การปฏิรูปประเทศ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ประกอบไปด้วย 16 หมวด 279 มาตรา และมีจุดเด่นประการหนึ่ง คือการให้ความสําคัญกับการปฏิรูปประเทศ โดย บัญญัติให้การปฏิรูปประเทศ เป็นหมวดหนึ่งในรัฐธรรมนูญ (หมวด 16 มาตรา 257 – มาตรา 261) และได้บัญญัติถึงเป้าหมายของการปฏิรูปประเทศไว้ 3 ประการ คือ 1) ประเทศชาติมีความสงบ เรียบร้อย มีความสามัคคีปรองดอง 2 มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีความสมดุลระหว่างการพัฒนาด้านวัตถุ กับการพัฒนาด้านจิตใจ 2) สังคมมีความสงบสุข เป็น ธรรม และมีโอกาสอันทัดเทียมกันเพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำ และ 3) ประชาชนมีความสุข มีคุณภาพ ชีวิตที่ดีและมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศและการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พุทธศักราช 2560 ได้กําหนดให้มีการดําเนินการปฏิรูปประเทศอย่างน้อยใน 7 ด้าน ได้แก่ ด้าน การเมือง ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ด้านกฎหมาย ด้านกระบวนการยุติธรรม ด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจ และด้านอื่น ๆ ให้เกิดผล โดยผู้วิจัยจะพิจารณาในส่วนของด้านกระบวนการยุติธรรม เป็นหลักมีสาระสําคัญดังนี้ ด้านกระบวนการยุติธรรม กําหนดให้มีการดําเนินการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรมโดยให้มี การกําหนดระยะเวลา ดําเนินงานในทุกขั้นตอน ให้มีการปรับปรุงระบบการสอบสวนคดีอาญา ให้มี การตรวจสอบและถ่วงดุลระหว่างพนักงานสอบสวนกับพนักงานอัยการอย่างเหมาะสม ให้มีการ เสริมสร้างและพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมเพื่ออํานวยความ ยุติธรรมแก่ประชาชนโดยสะดวกและรวดเร็ว ให้มี การบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ โดย แก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับหน้าที่ อํานาจ และภารกิจของตํารวจให้เหมาะสม และแก้ไขปรับปรุง กฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการตํารวจ ให้เกิดประสิทธิภาพ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศเมื่อพิจารณาในส่วนที่เกี่ยวกับ สิทธิเสรีภาพและรวมไปถึงการปฏิรูปประเทศภายใต้หัวของกระบวนการยุติธรรมก็ได้กำหนดสิทธิไว้ ครบถ้วนไม่ว่าจะเป็นสิทธิในเรื่องความเท่าเทียมโดยห้ามแบ่งแยกอายุ เป็นต้น และรัฐควรให้ความ ช่วยเหลือผู้ที่ด้อยกว่าตามแนวนโยบายแห่งรัฐ เช่น ในเรื่องของอายุ คนพิการ เป็นต้น 2.10.3.2 สิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยในกระบวนการยุติธรรม การดำเนินคดีอาญาแบ่งตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา แบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นตอน คือ 1.กระบวนการก่อนฟ้องคดี 2.กระบวนการหลังฟ้องคดี และ3.กระบวนการชั้นบังคับคดีซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 1) กระบวนการก่อนฟ้องคดีสำหรับคดีอาญา พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ฟ้อง พนักงานอัยการสามารถยื่นฟ้องต่อศาลได้ดังนั้นกระบวนการก่อนฟ้องคดีของพนักงานอัยการจึง มีดังนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3