การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

81 1.1 ร้องทุกข์หรือกล่าวโทษ กระบวนการนี้เป็นกระบวนที่ทำให้เจ้าพนักงาน ของรัฐซึ่งอาจเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือพนักงานสืบสวนหรือพนักงานสอบสวน ทราบว่าได้มีการ กระทำความผิดเกิดขึ้น การร้องทุกข์ หมายถึง การที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง หรือพนักงานสืบสวนหรือพนักงานสอบสวนว่ามีผู้กระทำผิดเกิดขึ้น จะรู้ตัวผู้กระทำความผิดหรือไม่ก็ ตาม ซึ่งกระทำให้เกิดความเสียหายแก่ตน และการกล่าวหานี้มีเจตนาจะให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ การ กล่าวโทษ หมายถึง การที่บุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหายได้กล่าวต่อเจ้าหน้าที่ว่ามีบุคคลรู้ตัวหรือไม่ก็ดี ได้ กระทำผิดอย่างหนึ่ง 1.2 การสืบสวน หมายความถึง การแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานซึ่ง พนักงานฝ่ายปกครองหรือพนักงานสืบสวนได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่ เพื่อรักษาความสงบ เรียบร้อยของประชาชนและเพื่อที่จะทราบรายละเอียดแห่งความผิด การสืบสวนเป็นอำนาจของ พนักงานฝ่ายปกครองหรือพนักงานสืบสวนที่จะดำเนินการสืบหาข้อเท็จจริงและหลักฐานต่าง ๆ เพื่อ ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้กระทำผิดและกระทำโดยวิธีการใด 1.3 การสอบสวน หมายถึง การรวบรวมพยานหลักฐานและการดำเนินการ ทั้งหลายอื่นตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำ ไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหา เพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิด และเพื่อจะเอาตัว ผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษ 1.4 การสั่งคดีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาให้อำนาจในการ ฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องแก่พนักงานอัยการเท่านั้น พนักงานสอบสวนแม้จะสามารถทำความเห็นเสนอ พนักงานอัยการ พนักงานอัยการมีอิสระในการสั่งคดี โดยพิจารณาจากพยานหลักฐานในสำนวนที่ พนักงานสอบสวนรวบรวมส่งมาให้ เมื่อพนักงานอัยการพิจารณาสำนวนการสอบสวนที่ส่งมาแล้วอาจ มีคำสั่ง คือ งดการสอบสวน สั่งไม่ฟ้อง สั่งฟ้อง สั่งสอบสวนเพิ่มเติมหรือหากยังจับตัวผู้ต้องหาไม่ได้ ให้ พนักงานสอบสวนดำเนินการจับตัวมาให้ จากนั้นถ้าเห็นควรสั่งฟ้องจะออกคำสั่งฟ้องและร่างคำฟ้อง พร้อมนำตัวผู้ต้องหายื่นฟ้องคดีต่อศาลที่มีอำนาจ 2) กระบวนการหลังฟ้องคดี ภายหลังจากที่พนักงานอัยการหรือผู้เสียหายเป็นโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลชั้นต้น แล้ว ศาลชั้นต้นจะดำเนินการ ดังนี้ 2.1 การตรวจฟ้อง ก่อนที่จะรับฟ้องไว้พิจารณา ศาลมีหน้าที่ต้องตรวจดูคำ ฟ้องว่าถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158 หรือไม่ และ พิจารณาด้วยว่าศาลของตนมีเขตอำนาจที่จะรับฟ้องไว้พิจารณาหรือไม่ ถ้าศาลตรวจแล้วเห็นว่าฟ้องไม่ ถูกต้อง ศาลจะสั่งได้ 3 กรณี คือ สั่งให้แก้ฟ้องให้ถูกต้อง ยกฟ้องหรือไม่ประทับฟ้อง ซึ่งศาลจะสั่ง อย่างไรขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาล ถ้าตรวจแล้วเห็นว่าฟ้องถูกต้อง ถ้าเป็นคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ศาล ต้องไต่สวนมูลฟ้องก่อนจึงจะประทับฟ้องได้ถ้าคดีมีมูล 2.2 การไต่สวนมูลฟ้อง คือ การที่ศาลไต่สวนคดีเพื่อวินิจฉัยถึงมูลคดี ซึ่ง จำเลยต้องหาว่ามีมูลน่าเชื่อเพียงใด

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3