การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

82 2.3 การพิจารณา การพิจารณาในศาลชั้นต้น เป็นการค้นหาความจริงจาก พยานหลักฐานที่โจทก์หรือจำเลยนำเสนอเพื่อให้ได้ความว่าตามที่โจทก์ได้กล่าวหาว่าจำเลยเป็น ผู้กระทำผิดนั้น จำเลยเป็นผู้กระทำผิดจริงหรือไม่ และมีข้อแก้ตัวที่จะไม่ต้องรับผิดเพียงใด ซึ่งการ พิจารณานี้โจทก์ต้องมีหน้าที่นำสืบพิสูจน์ว่าจำเลยเป็น ผู้กระทำผิด มิฉะนั้นต้องถือว่าจำเลยเป็น ผู้ บริสุทธิ์ 2.4 การพิพากษา หลังจากสิ้นสุดการสืบพยานฝ่ายโจทก์และจำเลย ศาลจะ พิจารณาพยานฝ่ายโจทก์ว่ามีหลักฐานน่าเชื่อว่าจำเลยกระทำผิดหรือไม่ ถ้าไม่น่าเชื่อหรือเป็นที่สงสัย ศาลจะยกฟ้องโจทก์โดยไม่คำนึงถึงพยานหลักฐานจำเลย แต่ถ้าพยานหลักฐานของโจทก์น่าเชื่อ ศาล ต้องพิจารณาพยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบว่าหักล้างพยานฝ่ายโจทก์อย่างไร ถ้าหักล้างได้ศาลจะยก ฟ้องโจทก์ ถ้าหักล้างไม่ได้ศาลจึงพิจารณาต่อไปว่าจำเลยมีเหตุที่กฎหมายยกเว้นความผิดหรือยกเว้น โทษหรือคดีขาดอายุความหรือไม่ ถ้ามีศาลต้องยกฟ้อง แต่ถ้าไม่มีศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลย 2.5 การอุทธรณ์กระบวนการพิจารณาในชั้นอุทธรณ์เป็นกระบวนการของ ศาลอุทธรณ์ที่พิจารณาคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ซึ่งคู่ความอุทธรณ์คัดค้านขึ้นมา อุทธรณ์ นี้อาจเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายหรือปัญหาข้อเท็จจริงก็ได้ โดยหลักแล้วการอุทธรณ์หรือฎีกา นั้น กฎหมายอนุญาตให้คู่ความอุทธรณ์ฎีกาได้ เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นที่ต้องห้ามตามกฎหมาย 2.6 การฎีกากระบวนการชั้นฎีกา เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการพิจารณา พิพากษาของศาล โดยศาลฎีกาจะพิจารณาคำฟ้องฎีกาที่คู่ความยื่นคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่ง อุทธรณ์ ซึ่งอาจเป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายหรือปัญหาข้อเท็จจริงหลังจากที่ศาลฎีกามีคำพิพากษา หรือคำสั่งเป็นเช่นใดแล้ว ถือว่าคดีถึงที่สุดจะนำฟ้องร้องกันอีกไม่ได้ในเรื่องนั้น 3) กระบวนการชั้นบังคับคดี เมื่อคำพิพากษาถึงที่สุด ไม่ว่าจะถึงที่สุดศาลชั้นใดและคำพิพากษานั้นได้ ตัดสินให้ลงโทษจำเลยในคดีนั้น ต้องบังคับโดยไม่ชักช้าซึ่งแยกพิจารณาตามโทษ ดังนี้ 1) โทษประหารชีวิต เมื่อจำเลยต้องพิพากษาให้ประหารชีวิต 2) โทษจำคุกตลอดชีวิต ให้นำไปจำคุกในเรือนจำ โดยมีเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ เป็น ผู้ควบคุมดูแลจนกว่าจะตาย ถ้าไม่ได้รับการอภัยโทษ ส่วนเด็กที่มีอายุไม่เกินสิบแปดปีในวัน กระทำผิด กฎหมายห้ามไม่ให้ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต 3) โทษจำคุกมีกำหนดเวลา ให้นำไปจำคุกในเรือนจำ ตามที่คำพิพากษา กำหนด ถ้าครบกำหนดแล้ววันใดก็ให้ปล่อยตัวผู้นั้นออกจากเรือนจำ 4) โทษกักขัง ให้นำไปกักขังในสถานที่อื่นซึ่งมิใช่เรือนจำซึ่งอาจเป็นบ้านของ บุคคลซึ่งยอมให้เป็นสถานที่กักขังได้ 5) โทษปรับ เจ้าหน้าที่ศาลจะบังคับเอาเงินค่าปรับจากผู้ต้องคำพิพากษา ตามจำนวนที่ระบุไว้ในคำพิพากษาทันที ไม่มีการทุเลาการบังคับเหมือนโทษจำคุก

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3