การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

83 6) โทษริบทรัพย์สิน เจ้าหน้าที่ศาลจะริบทรัพย์ของกลางตามคำพิพากษา ถ้ายังไม่ได้จัดการติดตามหามาให้ได้ 7) ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ ในคดีแพ่งที่ เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การบังคับให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่ง ภาคบังคับคดี (ณรงค์ ใจหาญ, 2547) 4) สิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา สิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญานั้น ได้บัญญัติรับรองอยู่ในกฎหมาย และมีการปรับปรุงกฎหมายให้เอื้อต่อการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาและจำเลย โดยสิทธิบางประเภท เป็นสิทธิที่ผู้ต้องหาและจำเลยมีเช่นเดียวกัน แต่สิทธิบางประเภทเป็นสิทธิในขณะที่เป็นผู้ต้องหาหรือ จำเลย เมื่อพิจารณาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พบว่า มีบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครอง สิทธิผู้ต้องหาหรือจำเลยในการดำเนินคดีอาญา ดังนี้ 4.1 สิทธิในการมีทนายความ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาวางหลักในเรื่องสิทธิในการมี ทนายความของผู้ต้องหาหรือจำเลยดังนี้ 4.1.1 สิทธิของผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาเกี่ยวกับทนายความในชั้นจับกุม (1) พบและปรึกษาผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว (มาตรา 7/1 (1)) (2) ผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความ หรือผู้ซึ่งจะเป็น ทนายความ (มาตรา 83 วรรคสอง) 4.1.2 สิทธิของผู้ต้องหาเกี่ยวกับการมีทนายความในชั้นสอบสวน (1) ให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ในชั้น สอบสวน (มาตรา 7/1 (2)) (2) คดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต ก่อนเริ่มถามค ำให้การให้พนักงาน สอบสวนถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความหรือไม่ถ้าไม่มีให้รัฐจัดหาทนายความให้ หรือคดีที่อัตราโทษ จำคุกให้ถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความหรือไม่ถ้าไม่มีและต้องการให้รัฐจัดหาทนายความให้ (มาตรา 134/1) (3) ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำ ตนได้ (มาตรา 134/3) (4) ในการถามคำให้การผู้ต้องหา ให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบ ก่อนว่าผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ (มาตรา 134/4 (2)) 4.1.3 สิทธิในการมีทนายความของจำเลยในชั้นพิจารณาคดีของศาล (1) จำเลยมีสิทธิแต่งทนายความแก้ต่างในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณา ในศาลชั้นต้นตลอดจนชั้นศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา (มาตรา 8 (2))

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3