การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

85 ผู้ต้องหาจะไม่ถูกใช้วิธีควบคุมเกินกว่าที่จำเป็น เพื่อป้องกันโดยมิให้ผู้ต้องหา หนีเท่านั้น (มาตรา 86) และจะไม่ถูกควบคุมไว้เกินกว่าจำเป็นตามพฤติการณ์แห่งคดี กับจะไม่ถูก ควบคุมเกินกำหนดเวลาที่ศาลเห็นว่ามีเหตุจำเป็นตามพฤติการณ์แห่งคดี กับจะไม่ถูกควบคุมเกิน กำหนดเวลาที่ศาลเห็นว่ามีเหตุจำเป็นเพื่อทำการสอบสวนหรือการฟ้องคดี แต่ต้องไม่เกินกำหนดเวลา ที่กฎหมายกำหนดเป็นขั้นตอนไว้ (มาตรา 87) 4.9 สิทธิที่จะได้รับการปล่อยชั่วคราวเป็นหลัก สิทธิของผู้ต้องหาที่จะร้องขอประกันหรือปล่อยชั่วคราวและร้องขอให้ศาล สั่งปล่อยตัวที่ถูกคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย (มาตรา 106 ถึงมาตรา 119 ทวิ และมาตรา 90) 4.10 สิทธิที่จะได้รับการแจ้งข้อกล่าวหา ผู้ต้องหาจะได้รับการแจ้งให้ทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระท ำที่ กล่าวหาว่าผู้ต้องหาได้กระทำความผิด และได้รับแจ้งข้อหาให้ทราบก่อนถูกสอบสวน ซึ่งการแจ้งข้อ กล่าวหานี้จะต้องมีพยานหลักฐานตามสมควรว่าผู้ต้องหาได้กระทำความผิด และจะได้รับการสอบสวน ด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่องและเป็นธรรม จะได้รับโอกาสแก้ข้อหาและแสดงข้อเท็จจริงอันเป็น ประโยชน์แก่ตน (มาตรา 134) 4.11 สิทธิที่จะไม่ได้รับการใช้กำลังที่ไม่จำเป็นในการจับกุม ถ้าบุคคลซึ่งจะถูกจับขัดขวางหรือจะขัดขวางการจับ หรือหลบหนีหรือ พยายามจะหลบหนี ผู้ทำการจับมีอำนาจใช้วิธีหรือการป้องกันทั้งหลายเท่าที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์ แห่งเรื่องในการจับนั้น (มาตรา 83 วรรคสาม) 4.12 สิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีอย่างรวดเร็วและเป็นธรรมของ จำเลย จำเลยมีสิทธิได้รับการพิจารณาคดีด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นธรรม (มาตรา 8(1)) และศาลจะดำเนินการพิจารณาตลอดไปจนเสร็จโดยไม่เลื่อนก็ได้ถ้าพยานไม่มาหรือมี เหตุอื่นอันควรต้องเลื่อนการพิจารณา ก็ให้ศาลเลื่อนคดีไปตามที่เห็นสมควร (มาตรา 179) 4.13 การพิจารณาโดยเปิดเผย การพิจารณาและสืบพยานในศาล ให้ทำโดย เปิดเผยต่อหน้าจำเลย (มาตรา 172 วรรคหนึ่ง) 4.14 การพิจารณาลับหลังจำเลย เมื่อศาลเห็นเป็นการสมควร เพื่อให้การ ดำเนินการพิจารณาเป็นไปโดยไม่ชักช้า ศาลมีอำนาจพิจารณาและสืบพยานลับหลังจำเลยได้ (มาตรา 172 ทวิ) (ณรงค์ ใจหาญ, 2563) 2.10.3.3 คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 419/2556 เรื่อง การอำนวยความ ยุติธรรมในคดีอาญา การทำสำนวนการสอบสวนและมาตรการควบคุม ตรวจสอบ เร่งรัดการ สอบสวนคดีอาญา ในส่วนของคำสั่งดังกล่าวข้างต้นนี้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการที่จะกำหนด ขอบเขตหรือแนวทางในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าตำรวจในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในการ สอบสวนคดีเพื่อให้เป็นแนวทางการปฏิบัติประกอบกับการปฏิบัติตามให้สอดรับกับประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญาซึ่งผู้วิจัยเห็นว่าคำสั่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติฉบับดังกล่าวนี้มีความสำคัญ เนื่องจากได้มีการกำหนดวิธีการในหลายส่วนด้วยกันในตัวของคำสั่งซึ่งในส่วนที่ผู้วิจัยจะนำเสนอก็คง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3