การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

86 จะต้องเป็นในส่วนของการสอบสวนคดี ว่าในปัจจุบันการสอบสวนคดีนอกจากกฎหมายแม่บทหลัก ๆ ที่ใช้กันอยู่นั้นแล้วก็จะต้องมีกฎหมายอื่นประกอบในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกันดังนั้นหากกฎหมายจะ เปลี่ยนแปลงแก้ไขก็ควรเดินไปทั้งกระบวนการเพื่อให้ทันยุคทันสมัยกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงทาง โครงสร้างทางสังคมในปัจจุบัน ดังนี้ ในส่วนของประเด็นว่าด้วยเรื่องการสอบการสอบสวน การสอบสวนของพนักงานสอบสวนให้ปฏิบัติตามหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี ลักษณะ 8 ตลอดจนระเบียบ และคำสั่งของสำนักงานตำรวจ แห่งชาติเป็นสำคัญ รวมทั้งให้ปฏิบัติดังนี้โดยเมื่อพิจารณาจากคำสั่งดังกล่าวก็สามารถแยกเป็นหัวข้อ ย่อย 13 ประการด้วยกัน 1. ก่อนรับคำร้องทุกข์ให้ตรวจสอบว่าผู้เสียหายเคยมาร้องทุกข์ ถอนคำ ร้องทุกข์ ถอนฟ้องหรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายมาก่อนหรือไม่ หากผู้เสียหายเคยมีการ ดำเนินการดังกล่าวมาก่อนแล้วก็ให้ชี้แจ้งให้ผู้เสียหายทราบว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 3*(2) ไม่อาจดำเนินการตามคำร้องทุกข์ได้ และ หากผู้เสียหายยังคงยืนยันจะร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีต่อไป ก็ให้พนักงานสอบสวนดำเนินการไปตาม กฎหมายต่อไป 2. คดีความผิดอันยอมความได้ กรณีมีการมอบอำนาจให้ตรวจสอบว่า หนังสือมอบอำนาจถูกต้องหรือไม่ มอบอำนาจช่วงได้หรือไม่ ขอบเขตของการมอบอำนาจมีเพียงใด ให้ พิจารณามีความเห็นไปตามรูปคดี 3. เพื่อประโยชน์ในการติดตามพยานให้ไปตามกำหนดนัดของศาล ให้ พนักงานสอบสวนบันทึกรายชื่อของพยานบุคคลทั้งหมดพร้อมที่อยู่หรือสถานที่ติดต่อ หมายเลข โทรศัพท์ หรือช่องทางอื่นที่ใช้ในการติดต่อพยานเหล่านั้นไว้ในสมุดคุมพยานสำหรับพนักงานสอบสวน (แบบ ส 56 - 81) และสมุดคุมพยานประจำที่ทำการพนักงานสอบสวน (แบบ ส 56 - 82) เก็บไว้ ณ ที่ ทำการของพนักงานสอบสวน กรณีสอบสวนโดยคณะพนักงานสอบสวน ให้หัวหน้าคณะพนักงานสอบสวน จัดการให้บันทึกรายชื่อของพยานบุคคลทั้งหมด พร้อมที่อยู่หรือสถานที่ติดต่อ หมายเลขโทรศัพท์ หรือ ช่องทางอื่นที่ใช้ในการติดต่อพยานเหล่านั้นไว้ในสมุดคุมพยานประจำที่ทำการของพนักงานสอบสวน ซึ่งรับการร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษลงในระบบการดำเนินคดีอาญาไว้ทำการสอบสวนคดีนั้น ๆ 4. การสอบสวนปากคำผู้กล่าวหา ผู้ต้องหา หรือพยานให้บันทึกบัตร ประจำตัวประชาชนให้ปรากฎ ชื่อ ที่อยู่ เลขหมายประจำตัวประชาชน ออกให้ที่ใด เมื่อใด หมดอายุ เมื่อใด หากผู้นั้นอ้างว่าไม่ได้นำบัตรประจำตัวประชาชนติดตัวมาหรือไม่มี ก็ให้บันทึกจากเอกสารอื่นๆ ที่ทางราชการออกให้ เช่น หนังสือเดินทาง ใบอนุญาตขับขี่ หรือตรวจสอบข้อมูลจากทะเบียนราษฎร์ และบันทึกไว้ 5. พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบต้องจัดทำรูปถ่ายผู้ต้องหา พร้อมระบุชื่อ วัน เดือน ปีเกิด,อายุ สัญชาติ และลายมือชื่อหรือลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ต้องหา รวมทั้งสำเนาทะเบียน บ้าน สำเนาทะเบียนสูติบัตรหรือหนังสือสำคัญของทางราชการ ซึ่งยืนยันตัวผู้ต้องหา ประกอบสำนวน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3