การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
88 ที่ตกลงร่วมกัน และจัดทำขึ้นมาเพื่อใช้ร่วมกันยุติปัญหาความขัดแย้งภายในพื้นที่ แต่มีข้อสังเกตว่า กฎกติกานี้เป็นเพียงข้อตกลง แต่ยังไม่มีผลเป็นการบังคับใช้เป็นกฎหมาย สอดคล้องกับผลการศึกษา การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรประมงชายฝั่งของ (ศิริชัย กุมารจันทร์ et al., 2558) พบว่า การจัดการประมงชายฝั่งในรูปแบบฟาร์มทะเลมีเกิดความขัดแย้งกับกลุ่มนอกชุมชน ต่อมาจึงแก้ไขปัญหาด้วยการจัดทำข้อตกลงหรือกติกาของชุมชนในการจัดการประมงชายฝั่งเป็นที่รับรู้ เฉพาะในชุมชน แต่ข้อตกลงหรือกติกาของชุมชนนี้ไม่มีสภาพเป็นกฎหมาย ทำให้ไม่สามารถใช้บังคับ ได้ เนื่องจากเป็นการตกลงกันเองและยังมิได้การรองรับโดยกฎหมาย เสนอแนะให้ปรับปรุงกฎหมาย ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับขอบเขตอำนาจและหน้าที่ในการจัดการ ทรัพยากรให้ชัดเจน เพื่อผลักดันให้กฎกติกาและข้อตกลงของชุมชนท้องถิ่น ในรูปแบบของ การส่งเสริมในการจัดการทรัพยากรประมงในรูปแบบข้อบัญญัติท้องถิ่นให้มีผลบังคับใช้ต่อไป สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย เห็นว่า การที่ชาวประมงขนาดเล็กไม่ได้ รับความเสมอภาคและเกิดปัญหาความขัดแย้งกับการประ มงขนาดใหญ่ แนวปฏิบัติ VGSSF ที่เกี่ยวข้องกับบริบทชาวประมงขนาดเล็กในสังคมไทย จำนวน 12 ข้อ (สมาคมสมาพันธ์ชาวประมง พื้นบ้านแห่งประเทศไทย สมาคมรักษ์ทะเลไทย, 2564) ในส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น 1. รัฐควรสนับสนุนให้ชุมชนและชาวประมงขนาดเล็กเข้าถึงองค์กรทางกฎหมาย หากเกิด สถานการณ์ความขัดแย้งที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรต้องมีการเยียวยาหรือชดเชยให้กับ ชาวประมงขนาดเล็กจากกรณีความขัดแย้งที่เกิดขึ้น 2. รัฐและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการประมง ควรมีการกำหนดมาตรการ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติโดยการใช้ทรัพยากรการประมงอย่างยั่งยืน เพื่อให้ระบบนิเวศหรือ สิ่งแวดล้อมอยู่ในสภาวะที่สามารถผลิตอาหารให้กับคนในสังคม ดังนั้นจึงควรมีนโยบายควบคุม ไม่ให้เกิดสภาวะการทำประมงที่มากกว่ากำลังการผลิตของสัตว์น้ำ หรือทำการประมงเกินขนาด 3. รัฐต้องสนับสนุนให้ชาวประมงขนาดเล็กมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรการประมง ที่ใช้ในการดำรงชีวิต โดยการวางแผนหรือดำเนินการมาตรการบริหารจัดการต่าง ๆ 4. รัฐต้องส่งเสริมให้มีการสร้างเครือข่ายขององค์กรชาวประมงขนาดเล็ก ทั้งระดับท้องถิ่น ประเทศ ไปจนถึงระดับโลก เพื่อให้พวกเขาได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประมง 5. รัฐต้องจัดทำข้อมูลสถิติด้านการประมง รวมถึงสถิติหรือข้อมูลทางด้านระบบนิเวศ สังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ เพราะข้อมูลเหล่านั้นจำเป็นสำหรับการออกนโยบายสำหรับการบริหาร จัดการทรัพยากรการประมงอย่างยั่งยืน ซึ่งสำคัญต่ออาชีพการประมงขนาดเล็ก เช่น ในประเทศไทย ที่มีการจัดทำสถิติการจับสัตว์น้ำในทะเลของชาวประมง หรือสัดส่วนครัวเรือนของชาวประมง นอกจากนี้ รัฐควรมีเงินทุนสำหรับการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการประมงขนาดเล็กโดยเน้นกระบวนการ มีส่วนร่วมในการวิจัย และชาวประมงขนาดเล็กต้องได้รับประโยชน์จากผลวิจัย จะเห็นได้ว่าในอดีตที่ผ่านมาการพัฒนาภาคการประมงในหลายพื้นที่ขาดการมีส่วนร่วมและ การรวมศูนย์อำนาจ จนนำไปสู่การใช้ทรัพยากรเกินศักยภาพการผลิต ทำให้ชาวประมงพื้นบ้านไม่ได้ รับความเสมอภาคและเกิดปัญหาความขัดแย้งกับการประมงขนาดใหญ่ ซึ่งในแนวปฏิบัติเพื่อสนับสนุน การทำงานกับชาวประมงขนาดเล็กอย่างยั่งยืนโดยสมัครใจในบริบทของความมั่นคงทางอาหารและ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3