การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
89 การขจัดความยากจน (Voluntary guidelines for securing sustainable small-scale fisheries) หรือ VGSSF เช่น กรณีเกิดสถานการณ์ความขัดแย้ง จะต้องได้รับการเยียวยาหรือชดเชย และรัฐควร สนับสนุนให้ชุมชนและชาวประมงขนาดเล็กเข้าถึงองค์กรทางกฎหมาย ในการบริหารจัดการประมง ควรมีการกำหนดมาตรการการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติโดยการใช้ทรัพยากรการประมงอย่างยั่งยืน ไม่ให้มีการทำการประมงที่เกินกำลังการผลิตของสัตว์น้ำ ต้องสนับสนุนให้ชาวประมงขนาดเล็ก มีส่วนร่วมในการวางแผน จัดการทรัพยากรการประมง ต้องส่งเสริมให้มีการสร้างเครือข่ายขององค์กร ชาวประมงขนาดเล็กทุกระดับ ตอดจนการจัดทำข้อมูลสถิติด้านการประมงเพื่อเป็นข้อมูลในการ กำหนดนโยบายการบริหารจัดการทรัพยากรการประมงให้เกิดความยั่งยืน ผู้วิจัยได้ศึกษางานบทความที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดการจัดการความขัดแย้ง เพื่อชี้ให้เห็นถึง วิธีการจัดการกับปัญหาการจัดการความขัดแย้งของประมงพื้นบ้าน ได้แก่ กรณีจัดการความขัดแย้ง (ฮัสสัน ดูมาลี, 2558) ได้ศึกษาปัจจัยลักษณะและแนวทางจัดการกับ ปัญหาความขัดแย้งการเลี้ยงหอยแครงในอ่าวปัตตานี ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่นำมาสู่ปัญหา ความขัดแย้ง เนื่องจากการเลี้ยงหอยแครงส่งผลกระทบต่อชาวประมงพื้นบ้านทั้งเรื่องของปัญหา ทรัพยากร เขตที่ทำกิน อุปกรณ์การทำประมง โดยลักษณะของความขัดแย้งเป็นความขัดแย้งระหว่าง กลุ่มคือ ชาวประมงพื้นบ้านกับนายทุนผู้เลี้ยงหอยแครง ชาวประมงพื้นบ้านกับชาวบ้านด้วยกัน และ นายทุนผู้เลี้ยงหอยแครงกับเจ้าหน้าที่รัฐ ส่วนแนวทางการจัดการความขัดแย้งมี 4 แนวทาง คือ แนวทางแรก การเผชิญหน้าและประท้วงอย่างสันติเป็นการประท้วงอย่างสงบในลักษณะให้สังคม ได้รับรู้ แนวทางที่สอง การฟ้องร้อง แนวทางที่สาม การไกล่เกลี่ย ซึ่งศาลนัดคู่ความมาไกล่เกลี่ย ที่ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแต่ไม่เป็นผล และแนวทางที่สี่ การจัดการความขัดแย้งแบบมีส่วนร่วม โดยการจัดประชาเสวนา เพื่อแสดงความคิดเห็นในการหาทางออกร่วมกัน และนำข้อมูลทั้งหมดส่ง ให้กับทางจังหวัดแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ซึ่งมีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สำนักสันติวิธี สถาบันพระปกเกล้า และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เข้ามามีบทบาทในการ จัดประชาเสวนา ความขัดแย้งในการใช้ทรัพยากรประมง (พัชราภา ตันตราจิน, 2561) ได้ศึกษาเกี่ยวกับ วิถีการดำรงอยู่กับความขัดแย้งของชาวประมงชายฝั่งในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน กรณีศึกษา ตำบลไม้รูด อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด และตำบลเกาะเปริด อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี แสดงให้เห็นว่าอำนาจของพื้นที่ทะเล (Sea space power) เป็นตัวแปรหลักสำคัญที่ส่งผลต่อสาเหตุ ความขัดแย้ง การเพิ่มหรือลดความขัดแย้ง และวิธีการจัดการความขัดแย้ง ขณะเดียวกัน ความขัดแย้ง ในการใช้ทรัพยากรประมงก็เชื่อมโยงกับอำนาจรัฐ (State power) อำนาจวัฒนธรรม อำนาจชุมชน (Cultural power, Community power) และอำนาจตลาด (Market power) ซึ่งเป็นอำนาจที่ถูกใช้ อย่างเชื่อมโยงกับพื้นที่ของความขัดแย้งว่าอยู่ในเขตชายฝั่งหรือนอกชายฝั่ง ซึ่งความขัดแย้ง ในเขตชายฝั่งเป็นความขัดแย้งระหว่างชาวประมงในพื้นที่เดียวกัน หรือใกล้เคียงในเรื่องของ ผลประโยชน์ที่ขัดกันในการใช้เครื่องมือที่ต่างชนิดกัน และพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ทับซ้อนกัน ความขัดแย้งที่คู่ขัดแย้งมีสถานะความสัมพันธ์ทางอำนาจไม่ต่างกันมาก ส่วนในอาณาบริเวณ นอกเขตชายฝั่ง เป็นพื้นที่ที่เรือประมงขนาดเล็กไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิในการจับสัตว์และ อำนาจชุมชนเอื้อมไม่ถึง คู่ขัดแย้งมีอำนาจต่างกันโดยอำนาจรัฐมีแนวโน้มสนับสนุนเรือประมง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3