การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
90 ขนาดใหญ่อำนาจรัฐทำงานไม่เต็มศักยภาพหรือเอื้อมไม่ถึงนอกชายฝั่ง ทั้งยังไม่มีอำนาจชุมชน เอื้อประโยชน์ให้เรือประมงขนาดเล็กมีอำนาจต่อรองกับเรือขนาดใหญ่ได้ดังในเขตชายฝั่ง ความขัดแย้ง ที่เกิดภายในและนอกชายฝั่งจึงเป็นการผสมระหว่างคู่ขัดแย้ง ซึ่งปรับเปลี่ยนไปตามพื้นที่ในการ จับสัตว์น้ำหรือตามเขตการใช้ทรัพยากร ซึ่งมีอำนาจรัฐ อำนาจชุมชนคอยแทรก ทำให้อำนาจของ คู่ขัดแย้งเท่ากัน หรือเข้าไปไม่ถึงในบางพื้นที่ อันเป็นลักษะเฉพาะของความขัดแย้งทางทะเล ที่สอดคล้องกับสภาพของธรรมชาติทะเลที่เคลื่อนไหวอยู่เสมอทั้งผิวน้ำและทรัพยากรใต้น้ำและ สอดคล้องกับวิถีของชาวประมงที่เป็นลักษณะคาดการณ์ได้ยาก (Unpredictable) และการปรากฏตัว ของอำนาจรัฐกับพื้นที่มีความสัมพันธ์กัน คือในที่ที่อำนาจรัฐหรือชุมชนไปถึงก็จะทำให้รูปแบบ ความขัดแย้งเปลี่ยนไป อันสะท้อนให้เห็นอีกว่าความขัดแย้งไม่อยู่นิ่งมีพลวัตเปลี่ยนได้เมื่อมีเงื่อนไข ของอำนาจและพื้นที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ใช่เฉพาะเรื่องอำนาจและเวลาหรือความสัมพันธ์ระหว่าง คู่ขัดแย้งเท่านั้น และชี้ให้เห็นว่าการพิจารณาเพียงประเด็นความขัดแย้ง โดยไม่คำนึงถึงพลวัต การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ซึ่งสัมพันธ์กับอำนาจ อาจไม่เพียงพอในการใช้พิจารณาความขัดแย้ง ในทรัพยากรทะเล การจัดการความขัดแย้งกรณีการเลี้ยงหอยแครง ซึ่งเป็นหนึ่งในอาชีพประมงพื้นบ้านนั้น ในงานของ (ฮัสสัน ดูมาลี, 2558) ชี้ให้เห็นแล้วว่า การจัดการความขัดแย้งแบบมีส่วนร่วม เพื่อหาทางออกร่วมกัน โดยการจัดประชาเสวนา และนำข้อมูลที่ได้ส่งให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไข สามารถใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาได้ จากสถานการณ์ปัญหาความขัดแย้งและแย่งชิงพื้นที่ทำประโยชน์ต่อเนื่องมาถึงปัญหา ใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมายเหล่านี้ ล้วนแต่จะทำให้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่รวมถึงสัตว์น้ำ ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากทุกฝ่ายเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน มิได้คำนึงถึงการอนุรักษ์ คุ้มครอง บำรุงรักษา ฟื้นฟู บริหารจัดการ และใช้หรือจัดให้มีการประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และ ความหลากหลายทางชีวภาพให้เกิดประโยชนอย่างสมดุลและยั่งยืน ดังนั้น จำเป็นต้องให้ประชาชน และชุมชนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมดำเนินการ และได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง สอดคล้อง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 57 (2) ที่บัญญัติไว้ ประกอบกับ นำหลักการมีส่วนรวมของประชาชน ปรากฏในคำปรารภของ UNCHE Declartion ค.ศ. 1972 กล่าวว่า การบรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม ต้องอาศัยการยอมรับความรับผิดชอบของพลเมือง และชุมชน และของผู้ประกอบการ และถือว่าเป็นหลักการหนึ่งของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ส่วนคำประกาศกรุงริโอ ค.ศ. 1992 ข้อ 10 การจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมต้องอาศัยสิทธิการมีส่วนร่วม ของประชาชนทุกระดับที่เกี่ยวข้องโดยการมีส่วนร่วม คือ สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้าน สิ่งแวดล้อมซึ่งอยู่ในความครอบครองของหน่วยงานของรัฐ และข้อ 22 กำหนดว่ารัฐควรรับรองและ ส่งเสริมอัตลักษณ์ (Identity) วัฒนธรรมและผลประโยชน์ของชุมชนท้องถิ่น เพื่อให้ชุมชนสามารถ มีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างยั่งยืน แสดงให้เห็นว่า ทุกภาคส่วนต้องบูรณาการร่วมกันให้บรรลุ เป้าหมายการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อให้ประชาชนในชุมชนท้องถิ่นได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง รูปแบบการจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเลชายฝั่งในปัจจุบัน การลดปัญหาหาความขัดแย้งจากการแย่งชิงพื้นที่และใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมาย เมื่อนำแนวทางทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่นิยม มาพิจารณาทำให้เห็นว่า สังคม คือ สิ่งที่ประกอบกัน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3