การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
91 เป็นมวลรวม มีวิวัฒนาการและการประสานรวมตัวของมนุษย์ทำให้เกิดความสลับซับซ้อนภายใน โครงสร้างกลายเป็นสถาบันสังคม สังคมหนึ่ง ๆ จะมีโครงสร้างบางอย่างซ่อนอยู่ แต่ละสังคม จะมีโครงสร้างที่คล้ายกัน แสดงให้เห็นถึงหน้าที่ส่วนต่าง ๆ เป็นระบบเชื่อมโยงถึงกัน ตราบใด ถ้าไม่เปลี่ยนโครงสร้าง สังคมไม่อาจอยู่รอดจำเป็นต้องมีการแบ่งแยกโครงสร้างและหน้าที่ส่วนต่าง ๆ ให้ชัดเจน เพื่อให้มนุษย์สามารถจัดการตนเองได้ตามบริบทของพื้นที่นั้น ๆ การแก้ไขปัญหาไม่อาจ ทำได้โดยลำพังหรือเฉพาะเจาะจง เนื่องจากมีความสลับซับซ้อนภายในโครงสร้าง จึงจำเป็นต้อง ประสานความร่วมมือระหว่างกันเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยใช้ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่นิยมเข้ามา จัดการกำหนดบทบาทหน้าที่ขององค์กรนั้น ๆ ดังนั้นการลดปัญหาที่เกิดขึ้นจำเป็นต้องมีหน่วยงาน ภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาสังคม และชาวประมงพื้นบ้าน เข้ามามีส่วนร่วม เพื่อเป็นกลไกสำคัญขับเคลื่อน สอดคล้องกับแนวคิดของทัลคอตต์ พาร์สันส์ ที่ว่า ระบบสังคม และ หน้าที่ คือ กิจกรรมที่ดำเนินไปเพื่อสนองความต้องการของระบบสังคม บนพื้นฐานความสำคัญ คือ การปรับตัว การบรรลุเป้าหมาย การบูรณาการ และการรักษาแบบแผน เป็นบทบาทหน้าที่พื้นฐาน เกี่ยวกับการปฏิบัติควบคู่ไป ระบบสังคมและชุมชน และระบบคุ้มครองหรือธำรงวัฒนธรรม เมื่อพิจารณาโครงสร้างสังคมของชุมชนประมงพื้นบ้าน ยังขาดรูปแบบการจัดการที่ดี ด้วยเหตุที่มีวิถีชีวิตการทำประมงผูกพันกับท้องทะเล เลี้ยงชีพด้วยการหารายได้จากการจับสัตว์น้ำ มีถิ่นฐานการตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณริมชายฝั่งทะเล เพื่อให้สะดวกต่อการขึ้นลงเรือในการออกไป จับสัตว์น้ำ โดยโครงสร้างของสังคมของกลุ่มประมงพื้นบ้านแต่ละพื้นที่ ส่วนใหญ่จะมีความสัมพันธ์ เป็นเครือญาติที่มีปฏิสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน มีการไปมาหาสู่กัน สำนึกและความรู้สึกร่วมกันของ แต่ละชุมชนประมงพื้นบ้านอาจมีความแตกต่างกันไปตามบริบทพื้นที่ หากชุมชนใดมีผู้นำชุมชน ที่เข้มแข็งหรือมีผู้คอยประสานการทำงานกับภาคส่วนต่าง ๆ และคนในชุมชนให้ความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจกันทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ชุมชนจัดขึ้น ย่อมส่งผลให้คนในชุมชนมีสำนึกและความรู้สึกร่วมกัน เป็นจุดยึดโยงความสัมพันธ์ ในทางตรงข้ามหากชุมชนใดที่สำนึกหรือความรู้สึกร่วมกันมีน้อยส่งผลให้ คนในชุมชนไม่ประสานความร่วมมือในกิจกรรมที่เกิดขึ้น หรือลักษณะต่างคนต่างทำ จึงเป็นการยาก ที่จะบูรณาการร่วมกันได้ เศรษฐกิจของกลุ่มผู้ทำประมงพื้นบ้านส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้น้อย รายได้ หลักส่วนใหญ่มาจากการทำประมง หรือการแปรรูปสัตว์น้ำ หากทรัพยากรสัตว์น้ำมีความอุดมสมบูรณ์ ส่งผลให้ชาวประมงพื้นบ้านมีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีวิต ในทางกลับกันหากทรัพยากรสัตว์น้ำ มีน้อยย่อมส่งผลกระทบต่อการดำรงชีพของชาวประมงพื้นบ้าน และนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้ง แย่งชิงทรัพยากรสัตว์น้ำทางทะเลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การที่มนุษย์เป็นสัตว์สังคม มีการอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเพื่อตอบสนองความต้องการในด้าน ต่าง ๆ ซึ่งสมาชิกของกลุ่มจะต้องมีการกระทำระหว่างกันในกลุ่ม หรือระหว่างกลุ่ม อาจก่อให้เกิด ความร่วมมือหรือความขัดแย้งกันได้และก่อให้เกิดปรากฎการณ์ทางสังคมต่าง ๆ (อำไพ หมื่นสิทธิ์, 2553) กลุ่มผลประโยชน์ในการจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านอาจแสดงให้เห็นในรูปแบบ ของกลุ่มต่าง ๆ ทั้งที่อยู่ในลักษณะร่วมมือมีผลประโยชน์ร่วมกัน เช่น กลุ่มประมงพื้นบ้านที่มีการ รวมกลุ่มกันทำกิจกรรมด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟู บริหารจัดการ หรือกลุ่มผลประโยชน์ในลักษณะเป็น ความขัดแย้งต้องการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรประมง คำนึงถึงประโยชน์ส่วนตนมากกว่า ประโยชน์ของส่วนรวม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3