การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
92 รูปแบบที่ทำให้การจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเลประสบความสำเร็จได้นั้น จะต้อง ทำให้ชาวประมงพื้นบ้านมีความรู้สึกและสำนึกร่วมกันที่จะดูแลรักษาทรัพยากรเกี่ยวกับ การมีส่วนร่วมของประชาชน คนที่รู้ปัญหาของชุมชนได้ดีที่สุด คือคนในชุมชนจากการศึกษาของ (อรทัย หนูสงค์, 2560) พบว่า การมีส่วนร่วมของชุมชนควรเข้ามามีส่วนในทุกขั้นตอนของการพัฒนา ชุมชนด้วยความสมัครใจ ร่วมกันวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหาทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม แสดงออกในรูปของการสร้างความร่วมมือ และรับผลประโยชน์ที่เกิดจากการดำเนิน กิจกรรมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาหรือการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ต้องการ และจำเป็นต้องได้รับ ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และกลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อให้ประสบความสำเร็จตามแผน โดยนำแนวความคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน หากนำมาปรับใช้กับการจัดการทรัพยากร ประมงพื้นบ้านให้หน่วยงานภาครัฐเป็นผู้นำในการคิดริเริ่มจัดทำโครงการหรือกิจกรรมหนึ่งแล้ว จึงแจ้งให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ 1) รูปแบบการจัดการของภาคประชาสังคม การลดปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่การทำประมงพื้นบ้านที่เกิดขึ้นในจังหวัดต่าง ๆ เช่น จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และปัตตานี พบว่าในพื้นที่อำเภอท่าศาลา จังหวัด นครศรีธรรมราช มีรูปแบบโดยใช้วิธีจัดการรวมกลุ่มประมงพื้นบ้าน เพื่อทำกิจกรรมเน้นการอนุรักษ์ ให้เกิดความอุดมสมบูรณ์เพื่อให้เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำ ประกอบกับเครื่องมือการทำประมง มีราคาแพงขึ้นและถูกห้ามการใช้เครื่องมือประมงที่ผิดกฎหมายรวมถึงราคาสัตว์น้ำที่ขายได้ไม่คุ้มทุน ในการทำประมงแต่ละครั้ง จึงประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชนอื่น เกิดแนวคิดในการตั้งร้าน คนจับปลาในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยสนับสนุนขององค์กรพัฒนาเอกชนเข้ามาแก้ปัญหา ลดความขัดแย้งจากการทำประมงพื้นบ้าน ด้วยวิธีการเปลี่ยนแนวคิดสร้างรายได้ที่มีความหลากหลาย ให้แก่ผู้ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน นอกเหนือจากการทำประมงเพียงอย่างเดียว เห็นได้จากแนวคิด การสร้างช่องทางขายสัตว์น้ำ โดยชาวประมงพื้นบ้านในราคาที่เป็นธรรม และผู้บริโภคได้รับอาหาร ที่ปลอดภัยปราศจากสารฟอร์มาลีน และได้พัฒนาเป็นร้านคนจับปลาเป็นแห่งแรกที่จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ และขยายมาที่จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรวมกลุ่มอยู่ภายใต้สมาคมสมาพั นธ์ ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย และมีการกำหนดมาตรฐานบูลแบรนด์ (Blue brand standard) เพื่อเป็นหลักประกันให้ผู้บริโภค (ฮาซานี เกะมาซอ, 2564) ผลจากการสัมภาษณ์ตัวแทนสมาคมรักษ์ทะเลไทย กล่าวว่า องค์กรพัฒนาเอกชน เป็นองค์กรที่ทำกิจกรรมการส่งเสริม วิชาการ งานวิจัย หรือประเด็นทางสังคม ผ่านกระบวนการ มีส่วนร่วมให้ชุมชนสามารถจัดการตนเองได้ มีการทำงานในลักษณะเครือข่าย โดยส่งเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ เช่น ปัตตานี ประจวบคีรีขันธ์ พังงา ระนอง ร่วมกับชุมชนประมงท้องถิ่น เสนอแนะว่ารูปแบบการจัดการควรจัดตั้งร้านคนจับปลา และให้มีการส่งเสริมการตลาด พัฒนา ผลิตภัณฑ์ สร้างแบรนด์ เพิ่มมูลค่าสินค้าจากการทำประมง ช่วยผลักดันมาตรฐานรับรองสินค้า จากการทำประมงให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจ ยกระดับราคาสินค้าเพื่อสร้างความแตกต่างระหว่าง การทำประมงแบบไม่ยั่งยืนกับการทำประมงแบบยั่งยืน ซึ่งการทำประมงแบบยั่งยืนควรได้รับ ค่าตอบแทนที่สูงกว่า ได้เสนอความเห็นว่าหน่วยงานภาครัฐจำเป็นต้องเข้ามาส่งเสริม สนับสนุน ให้ความรู้ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ควรมีเจ้าหน้าที่อยู่ประจำช่วยทำงานกับชาวบ้าน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3