การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
94 จากผลการสัมภาษณ์ ตัวแทนผู้นำชุมชนและผู้ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านในพื้นที่จังหวัด ปัตตานี เห็นว่า อ่าวปัตตานีมีเนื้อที่ประมาณ 74 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่อำเภอยะหริ่ง อำเภอเมืองปัตตานี อำเภอหนองจิก มีชาวบ้านอาศัยอยู่โดยรอบประมาณ 30,000 กว่าคน ในอดีตมีกฎกติกาหมู่บ้านโดยทุกวันศุกร์ชาวบ้านจะหยุดทำการประมง แต่ปัจจุบันกลายเป็นเรื่องเล่า และความทรงจำของคนในพื้นที่ไปแล้ว ให้เหตุผลว่าในการกำหนดกฎกติกาดังกล่าว คนในอดีต ทำการประมงโดยใช้เรือพาย ไม่ได้ใช้เรือที่ติดเครื่องยนต์ดังเช่นในปัจจุบัน ซึ่งหากออกไปทำการ ประมงแล้วอาจกลับมาไม่ทันประกอบพิธีกรรมทางศาสนาอิสลาม คือ การละหมาด จึงหยุด ทำการประมงทุกวันศุกร์ และอาจเป็นเพราะในอดีตทรัพยากรมีจำนวนมากสามารถออก ทำการประมงวันใดก็ได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีทำให้ทรัพยากรในทะเลมีโอกาสได้ฟื้นตัว อีกทั้งชาวประมง มีจิตสำนึกในการดูแล และอนุรักษ์ทรัพยากรให้ยั่งยืน แต่ปัจจุบันท ำการประมงโดยใช้เรือ ที่มีเครื่องยนต์ ซึ่งสะดวกและรวดเร็วสามารถกลับมาได้ทันตามเวลาการละหมาดในวันศุกร์ได้ แต่ยังมี ชาวประมงบางส่วนที่ยังมีจิตใจด้านการอนุรักษ์มีการรวมตัวกันตั้งเป็นกลุ่ม องค์กร เพื่อรักษา ทรัพยากรหน้าบ้านของตนเอง เช่นที่อำเภอปะนาเระ หรืออำเภอยะหริ่ง ในส่วนพื้นที่อำเภอปะนาเระ มีการกำหนดแนวเขตอนุรักษ์ วางซั้งบ้านปลา และตั้งกฎ กติกาชุมชนในการห้ามทำการประมงในเขตอนุรักษ์ด้วยเครื่องมือทุกชนิด โทษจะเป็นการตักเตือน แต่หากกระทำผิดซ้ำจะมีการปรับประมาณ 2,000 บาท และทุกวันศุกร์จะห้ามออกทำการประมง หากฝ่าฝืนมีอัตราโทษปรับ 300 บาท เงินค่าปรับจะมอบให้มัสยิด หลังจากมีการประกาศใช้กฎกติกา ดังกล่าวสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือจำนวนสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้น แต่ยังพบมีการละเมิด จึงตรวจยึดสัตว์น้ำและ เครื่องมือทำการประมง หากต้องการเครื่องมือทำการประมงคืนก็จะต้องมาชำระค่าปรับ 2,000 บาท เนื่องจากด้วยบริบทสภาพพื้นที่เป็นทะเลเปิดฝั่งอ่าวไทย มิได้อยู่ในอ่าวปัตตานี จึงไม่มีปัญหาเครื่องมือ ประมงผิดกฎหมาย เช่น ลอบพับ ไอ้โง่ อวนรุน ผลจากสัมภาษณ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ให้ข้อมูลว่า ในพื้นที่จังหวัดสงขลา มีการจัดกิจกรรมฟื้นฟู ส่งเสริม อาชีพ สร้างรายได้ สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชนชายฝั่งที่ประกอบอาชีพทำประมง โดยเฉพาะ การสนับสนุนการทำบ้านปลาเพื่อสร้างระบบนิเวศของสัตว์น้ำ ซึ่งเป็นแนวทางในการอนุรักษ์และฟื้นฟู ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งด้วย โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้ความสำคัญกับชุมชน ชายฝั่งในการดูแล รักษาและฟื้นฟูทรัพยากรหน้าบ้านของแต่ละชุมชน แนวทางในการบริหารจัดการ ทรัพยากรประกอบด้วย 4 แนวทาง ได้แก่ การทำธนาคารสัตว์น้ำชุมชน การวางซั้งกอ บ้านปลา การกำหนดแนวเขตอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรหน้าบ้าน และ การสร้างกฎกติกาของชุมชนเพื่อเป็น แนวทางปฏิบัติร่วมกัน รูปแบบบ้านปลาในจังหวัดสงขลา (สายัญ ทองศรี, 2562) กำหนดไว้ 3 รูปแบบขึ้นอยู่กับ บริบทแต่ละพื้นที่ รูปแบบที่ 1 คือ การจัดวางซั้ง แบบทุ่นริมชายฝั่ง รูปแบบที่ 2 วางจัดวางซั้ง แบบไม้ไผ่ นอกชายฝั่ง สาเหตุที่ไม่ใช้ซั้งแบบไม้ไผ่ริมชายฝั่ง เนื่องจากเมื่อนำลงจะทำให้ไม้ไผ่เอียงจะทำให้ เกิดอันตรายกับเรือประมง ในเวลากลางคืน และรูปแบบที่ 3 คือ คอกซั้งบ้านปลาในทะเลสาบสงขลา มีรายละเอียด ดังนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3