การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
96 ตามจุดพิกัดที่กำหนด โยนไม่ไผ่พร้อมทางมะพร้าวที่ผูกติดกันตามด้วยกระสอบทราย วางจุดละ ประมาณ 10 - 20 ต้น จะได้ 1 กอ โดยแต่ละกอจะห่างกันประมาณ 100 เมตร ภาพที่ 3 รูปแบบซั้ง แบบไม้ไผ่นอกชายฝั่ง (สายัญ ทองศรี, 2562) รูปแบบที่ 3 รูปแบบซั้ง ในทะเลสาบสงขลา แบบคอก การจัดวางซั้งกำหนดพื้นที่ตามที่ชุมชนมีกฎกติการ่วมกัน ในพื้นที่แนวเขตอนุรักษ์ ริมชายฝั่งของทะเลสาบห่างจากฝั่งประมาณ 250 – 400 เมตร โดยส่วนใหญ่จะจัดทำซั้งบ้านปลา เป็นคอก ๆ ขนาด 4X4 เมตร มีการเตรียมไม้ไผ่ปักหลัก 4 มุม ผูกไม้ไผ่ด้วยเชือกมัดทั้ง 4 มุม หรือ เสริมเสาระหว่างกลางทั้ง 4 มุม ซึ่งอาจใช้ไม้ไผ่ต่อ 1 คอก ประมาณ 8 -12 ลำ (หรือเสาหลักอาจใช้ พีวีซีขน าด 4 นิ้ว ) จัดหาทางมะพ ร้าวหรือทางปาล์มสด จัดหากิ่ง ไม้ขน าด 2 - 3 เมตร เติมในแต่ละคอก การวางซั้ง เมื่อทำคอกเสร็จจะเติมด้วยทางมะพร้าว ทางปาล์มและกิ่งไม้สุม ให้เต็มคอก เพราะในทะเลสาบสงขลา ยิ่งสุมไม้ให้รกยิ่งทำให้ปลาชุกชุม เป็นแหล่งหลบซ่อนได้ดี ซึ่งอายุของซั้งจะประมาณ 3 - 4 เดือน จึงจำเป็นต้องซ่อมแซมคือการเติมกิ่งไม้ในคอกประมาณ 3 - 4 เดือนต่อครั้ง และในฤดูน้ำหลากระหว่างเดือนพฤศจิกายนจนถึงมกราคมจะปล่อยตามธรรมชาติ ภาพที่ 4 รูปแบบซั้ง ในทะเลสาบสงขลา แบบคอก (สายัญ ทองศรี, 2562)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3