การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
97 จากรูปแบบแนวทางในการขับเคลื่อนและฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลจนประสบความสำเร็จ จึง มีการขยายแนวคิดไปยังพื้นที่ใกล้เคียง ทำให้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งมีความสมบูรณ์ระบบนิเวศ ทางทะเลดีขึ้น สัตว์น้ำมีมากขึ้น ชาวประมงทำประมงได้มากขึ้น สัตว์น้ำที่จับได้มีหลากหลายและได้ปลา ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น อีกทั้งยังพบโลมา และฉลามวาฬ เข้ามาหากินริมชายฝั่งโดยเฉพาะบริเวณพื้นที่อนุรักษ์ และฟื้นฟูของชุมชน สะท้อนให้เห็นถึงระบบนิเวศทางทะเลที่มีความสมดุลและเกิดความสมบูรณ์มากขึ้น สัตว์เล็กที่อยู่ในพื้นที่ชายฝั่งสัตว์ใหญ่ก็เข้ามาหากิน เกิดระบบนิเวศทางทะเลตามธรรมชาติ การสร้าง แหล่งอาศัยและพื้นที่หลบภัยของสัตว์น้ำโดยเฉพาะการสร้างบ้านปลา โดยการจัดวางซั้งในรูปแบบต่าง ๆ เป็นแนวทางที่เหมาะสมและเกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพื้นที่ทรัพยากรหน้าบ้านเป็นแนวทาง ที่ทำให้การทำประมงอย่างรับผิดชอบและการสร้างรายได้จากการใช้ประโยชน์ทางทะเลอย่างยั่งยืน ลดปัญหาความขัดแย้งได้อย่างแท้จริง การวางซั้งกอบ้านปลาการกำหนดแนวเขตอนุรักษ์และฟื้นฟู ทรัพยากรหน้าบ้าน และการกำหนดกฎกติกาชุมชนเป็นกิจกรรมที่เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของคน ในชุมชนเป็นหลักในการดำเนินการ มีการประชุมเพื่อชี้แจงให้ชุมชนรับทราบและใช้มติที่ประชุมชน ในการกำหนดพื้นที่แนวเขตห้ามทำประมงที่ชาวประมงสามารถยอมรับในข้อตกลงได้ ซึ่งการกำหนด แนวเขตอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรหน้าบ้าน โดยทั่วไปจะอยู่ในพื้นที่ตามแนวความยาวของชายฝั่ง ที่ชุมชนตั้งอยู่ เช่น ประมาณ 1,000 เมตร และมีความกว้างจากแนวชายฝั่งออกไป ประมาณ 500 เมตร เป็นต้น การกำหนดกฎกติกาชุมชน ต้องได้รับการเสนอในที่ประชุมเพื่อให้ที่ประชุมมีมติรับรอง ชุมชนต้องยอมรับตามข้อตกลงร่วมกัน กฎกติกาชุมชน เมื่อมีการฝ่าฝืนจะมีบทลงโทษ 3 ข้อ คือ เมื่อทำผิด ครั้งที่ 1 จะลงบันทึกประจำวันและกล่าวตักเตือน เมื่อทำผิดครั้งที่ 2 จะยึดเครื่องมือประมง และสัตว์น้ำที่จับได้และปรับเงินจำนวน 2,000 บาท และหากมีการฝ่าฝืน ครั้งที่ 3 จะดำเนินคดี ตามกฎหมาย โดยในการดำเนินการประชุม จะมีหน่วยงานภาครัฐจากกรมประมงและกรมทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ง เข้ามามีส่วนร่วมและเป็นที่ปรึกษาให้กับชุมชนและให้ความร่วมมือในการป้องกัน และป้องปราม หากจำเป็นต้องบังคับใช้กฎหมายกับผู้ที่ละเมิดกฎกติกาของชุมชน การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลของชุมชนชายฝั่งที่มุ่งเน้นให้ชุมชนได้ปกป้องพื้นที่ หน้าบ้านของตัวเอง โดยยึดแนวคิดหน้าบ้านใครหน้าบ้านมัน ช่วยกันดูแล ยังสอดคล้องกับภารกิจของ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง พ.ศ. 2558 หมวด 2 ชุมชนชายฝั่ง มาตรา 16 ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสนับสนุน ชุมชนชายฝั่งและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารจัดการการปลูก การบำรุงรักษา การอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอีกด้วย สอดคล้องกับงานวิจัยของ (พงศ์เทพ แก้วเสถียร, 2564) ที่พบว่า การสร้างเครือข่ายการ จัดการทรัพยากรชุมชนด้วยรูปแบบการประสานความร่วมมือ ระหว่างประมงพื้นบ้าน ชุมชน ผู้นำ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วัด สถาบันการศึกษา เป็นแนวทางการจัดการพื้นที่อนุรักษ์ ทรัพยากรชุมชนที่สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมกับเครือข่ายชุมชนในการจัดการทรัพยากร ส่งผลให้ ชุมชนเข้มแข็งสามารถพัฒนาไปสู่การสร้างความมั่นคงทางอาหารของชุมชนและความยั่งยืนของ ทรัพยากรในชุมชนได้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3