การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

98 3) รูปแบบการจัดการของหน่วยงานภาครัฐ เดิมประเทศไทยทรัพยากรสัตว์น้ำที่อุดมสมบูรณ์จึงทำให้มีผลผลิตจากการทำประมง เป็นจำนวนมากและเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญและสร้างรายได้ให้กับประเทศ ต่อมามีการนำทรัพยากร สัตว์น้ำมาใช้ประโยชน์จนเกินอัตรากำลังการผลิตตามธรรมชาติ จึงทำให้ประสบปัญหาวิกฤต ทรัพยากรสัตว์น้ำลดลง สาเหตุมาจากการลักลอบใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมายที่ส่งผลกระทบต่อ สัตว์ทะเลหายาก หรือการลักลอบเข้าไปทำประมงในเขตหวงห้าม ทำให้สหภาพยุโรปออกมาตรการ เตือนประเทศไทยให้ประเทศไทยปรับเปลี่ยนนโยบายในการจัดการกับปัญหาการทำประมง ผิดกฎหมาย และปัญหาการขาดการควบคุมการทำประมง ในปี พ.ศ. 2558 มีการแก้ไขปัญหาการจัดการทรัพยากรประมง ตามแผนงาน 6 แผนงาน หลักคือ (1) การปรับปรุงพระราชบัญญัติการประมง และกฎหมายลำดับรอง (2) การจัดทำแผน ระดับชาติในการป้องกันยับยั้ง และขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย (3) การเร่งจดทะเบียนเรือประมง และออกใบอนุญาตการทำประมง (4) การพัฒนาระบบควบคุมและเฝ้าระวังการทำประมง โดยเฉพาะ การควบคุมการเข้า - ออกทำของเรือประมง (5) การจัดทำระบบติดตามตำแหนงเรือ และ (6) การปรับปรุงระบบการตรวจสอบยอนกลับ นอกจากนี้ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีคำสั่งที่ 24/2558 ลงวันที่ 5 สิงหาคม 2558 เรื่อง การแก้ไขปัญหาการทำการประมง ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม เพิ่มเติมเพื่อแก้ไขปัญหา การจับสัตว์น้ำ ในน่านน้ำไทยที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยงดการจดทะเบียนเรือไทย สำหรับการประมง รวมถึงห้ามมิให้มีการใช้หรือครอบครองเครื่องมือท ำการประมงที่ไม่ถูกต้องตามที่กำหนด และให้พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถรื้อถอน หรือทำลายเครื่องมือทำการประมงนั้นได้ด้วย เครื่องมือ สำคัญที่มีผลทำให้การจัดการหรือการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมประสบผลสำเร็จคือ กฎหมาย ในการกำหนดนโยบายการจัดการ ให้การดำเนินการเป็นไปตามหลักความสมดุลของ ธรรมชาติ มีความสอดคล้องกับการกำหนดอำนาจหน้าที่ วิธีการประสานขององค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และเป็นเครื่องมือในการควบคุมการดำเนินงานให้เป็นตามระเบียบและข้อกำหนดอย่างชัดเจน มีการ ส่งเสริมการประเมินทรัพยากรประมง (Fisheries stock assessment) เพื่อใช้เป็นการวางแผน การบริหารจัดการให้สอดคล้องกับศักยภาพ การทำประมงที่คำนึงถึงความสมดุลของทรัพยากรสัตว์น้ำ และระบบนิเวศ สอดคล้องกับหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งจำกัดและยกเลิกเครื่องมือประมง ที่ทำลายล้าง ป้องกันไม่ให้เรือประมงเถื่อนทั้งจากภายในประเทศและภายนอกประเทศเข้ามาทำการ ประมงที่ผิดกฎหมาย หรือการสนับสนุนบทบาทการมีส่วนร่วมของชุมชนชายฝั่ง รวมถึงเสริมสร้าง เครือข่ายชุมชนชายฝั่งให้ร่วมดำเนินกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งและ พื้นที่อ่าว โดยเฉพาะการเฝ้าระวังการทำประมงผิดกฎหมายในเขตการทำประมงพื้นบ้าน (สำนักงาน นโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2560) การบังคับใช้มาตรการดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อชาวประมงพื้นบ้านอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังที่ (พิมพ์ประไพ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา & ชัยณรงค์ เครือนวน, 2562) ได้ศึกษาพบว่า สาเหตุที่ทำให้ ประเทศไทยได้รับการเตือนจากสหภาพยุโรป เนื่องจากประเทศไทยไม่ปฏิบัติตามระเบียบ สหภาพยุโรปที่ว่าด้วยการจัดตั้งระบบของประชาคมยุโรปเพื่อป้องกัน ยับยั้ง ขจัดการทำประมง ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม รวมทั้งสถานการณ์การค้ามนุษย์ในกิจการประมง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3