การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
99 มาตรการในการแก้ไขปัญหารัฐบาลไทยจึงได้ปรับปรุงกฎหมายประมง กฎหมายลำดับรอง การออกคำสั่งจากหน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมาตรการทางกฎหมายบางประเด็นสร้างปัญหา และส่งผลกระทบต่อชาวประมงพื้นบ้าน เช่น ปัญหาเกี่ยวกับอาชญาบัตรการทำประมง ปัญหา เกี่ยวกับการนิยามเขตทะเลนอกชายฝั่ง เรือประมงพื้นบ้านเรือไร้สัญชาติเป็นต้น การแก้ไขปัญหา ผู้เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับวิธีการออกมาตรการแก้ไขปัญหา การบริหารจัดการทรัพยากร ทางทะเล และการบรรเทาผลกระทบจากการประกาศใช้มาตรการในรูปแบบต่าง ๆ การจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเล แต่ละหน่วยงานมีรูปแบบการจัดการส่งเสริม การมีส่วนร่วมของประชาชน โดยกรมประมง เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรงเกี่ยวกับการปกป้อง คุ้มครอง และให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านและชุมชนประมงท้องถิ่น ซึ่งกรมประมงมีแนวแนวทางการขับเคลื่อนภารกิจผ่านยุทธศาสตร์กรมประมง พ.ศ. 2560 – 2564 ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2559-2573 (Sustainable development goal: SDGs) จรรยาบรรณการทำระมงอย่างรับผิดชอบ (FAO Code of conduct for responsible fisheries: CCRF) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ยุทธศาสตร์กรมประมงที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากร ประมงพื้นบ้านปรากฎในยุทธศาสตร์ที่ 3 การบริหารจัดการด้านการประมงและทรัพยากรสัตว์น้ำให้มี ความยั่งยืนและคงความหลากหลาย เป็นไปเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรป ระมง ให้มีความ อุดมสมบูรณ์ ชุมชนประมงท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรประมง ผู้กระทำผิด กฎหมายลดลง ปริมาณการจับสัตว์น้ำต่อหน่วยลงแรงทำการประมงเพิ่มขึ้น เร่งการฟื้นฟูทรัพยากร สัตว์น้ำและแหล่งที่อยู่อาศัยเพื่อสร้างสมดุลและความหลากหลายเพื่อให้มีทรัพยากรใช้อย่างยั่งยืน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ สนับสนุนให้ชาวประมงมีส่วนร่วม ในการบริหารจัดการทรัพยากร ควบคุมและป้องกันการทประมงให้เป็นไปตามกฎหมายและแผน ระดับชาติ เพื่อควบคุมการทำประมงให้เป็นไปตามกฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กรมประมงไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้เป็นตามแนวทางวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และ ตัวชี้วัดในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ ซึ่งจะต้องมีความเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานส่วนกลางและ ส่วนภูมิภาค (กองนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาการประมง กลุ่มเลขานุการคณะกรรมการนโยบาย ประมงแห่งชาติ, 2560) เมื่อพิจารณาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 57 (2) ที่กำหนดให้รัฐดำเนินการคุ้มครอง บำรุงรักษา ฟื้นฟู บริหารจัดการและใช้หรือจัดให้มีการใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ ให้เกิดประโยชน์อย่างสมดุล และยั่งยืน โดยให้ประชาชนและชุมชนท้องถิ่นเข้ามาร่วมดำเนินการและได้รับประโยชน์จากการ ดำเนินการ ตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 มาตรา 25 กำหนดให้กรมประมงส่งเสริมการมี ส่วนร่วมและสนับสนุนชุมชนประมงท้องถิ่นในการจัดการ บำรุงรักษา อนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ ประโยชน์อย่างยั่งยืนจากทรัพยากรสัตว์น้ำภายในที่จับสัตว์น้ำในเขตทะเลชายฝั่งให้ความช่วยเหลือ หรือสนับสนุนการส่วนร่วมของชุมชนประมงท้องถิ่นในการจัดทำนโยบายการพัฒนาการประมง สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มและให้ให้มีการขึ้นทะเบียนเป็นองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น ให้คำปรึกษา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3